Sales Forecast คืออะไร? : เครื่องมือสำคัญสำหรับการวางแผนกลยุทธ์

Riki Kimura wisible author

Riki Kimura

Digital Marketing Executive at Wisible

การทำ Sales Forecast คือ การคาดการณ์ยอดขายในอนาคต โดยการใช้ข้อมูลในอดีตและปัจจุบันมาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถวางแผนการทำธุรกิจและเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการ Sales Forecast จะใช้เทคนิคทางสถิติต่าง ๆ มาใช้ วิเคราะห์ยอดขาย ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด ปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่อการขาย หรือแม้กระทั่งแนวโน้มของเทคโนโลยีต่าง ๆ

ทำไม? การคาดการณ์ยอดขาย จึงสำคัญกับธุรกิจ

การพยากรณ์ยอดขายเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะว่าการทำ Forecast ช่วยให้สามารถวางแผนจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านการผลิต การจัดซื้อ และด้านการเงิน ประโยชน์หลัก ๆ ของการทำ Sales Forecast ได้แก่

  • ช่วยคาดการณ์ยอดขายในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยให้วางแผนการผลิตและจัดซื้อได้อย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนหรือการผลิตส่วนเกิน

นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณสามารถหา sales pipeline เข้ามาเติมเพื่อรักษายอดขาย รวมไปถึงสามารถต่อยอดไปถึงการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถส่งผลกระทบกับการทำธุรกิจได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย การแข่งขันทางการตลาด หรือความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ซึ่งเมื่อคุณสามารถเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณอย่างแน่นอน

Sales forecast Excel template
ตัวอย่าง การคำ Forecasting ใน Spreadsheet
cr. gong.io

วิธีทำ Sales forecast อย่างมีประสิทธิภาพ

การคาดการณ์ยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอน ดังนี้

เก็บรวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลของข้อมูล

เริ่มต้นการทำ Sales forecast ด้วยการรวบรวมยอดขายในอดีต โดยระบุระยะเวลาที่สนใจ เช่น เลือกลงข้อมูลของรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี หรือหากมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อการขาย เช่น ข้อมูลการโปรโมท หรือสภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นแนะนำให้เก็บรวบรวมมาด้วย เพื่อความแม่นยำ หลังจากรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว มาถึงขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วยการใช้เครื่องมือ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์และทำการประมวลผลประวัติการขาย เพื่อให้เข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของยอดขายที่อาจเกิดขึ้น

กำหนดเป้าหมายแบบประเมินตามจริง

หลายครั้งเราจะเห็นว่าการวาง Sales forecast เป็นเพียงการกรอกตัวเลขลอย ๆ อาศัยความน่าจะเป็นคำนวณออกมา เพื่อเป็นเป้าหมายต่อเดือนหรือต่อไตรมาส โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้จริงนั้น อาจส่งผลกระทบได้มากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะไม่เห็นความเป็นไปได้ที่แม่นยำแล้ว ยังทำให้ Performance ของทีมขายดูไม่ดีไปด้วย ดังนั้นการตั้งเป้าหมายควรใช้ข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบควบคู่ไปด้วย เช่น คุณลักษณะของสินค้า ราคาต่อหน่วยที่จะขาย จำนวนของลูกค้าที่อยู่ใน pipeline แนวโน้มการซื้อสินค้าตามสถานการณ์จริง จำนวนคู่แข่งทางการค้า  สภาวะตลาดและเศรษฐกิจ เรียกว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งคาดการณ์ยอดขายได้อย่างแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

สำหรับเทคนิคการคาดการณ์ยอดขายให้มีประสิทธิภาพนั้น หลายคนอาจมองว่าต้องยุ่งยากและซับซ้อนมากแน่ ๆ แต่ความจริงแล้วคุณสามารถจัดการ Sales forecast ให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีความแม่นยำได้ด้วยระบบ AI จาก Wisible เครื่องมือคาดการณ์ยอดขายอัจฉริยะที่ไม่ควรพลาด

วิธีการคำนวน Sales Forecast

ก่อนที่จะเริ่มคำนวนเราต้องกำหนด Timeframe หรือ กรอบระยะเวลาที่จะคาดการณ์ยอดขายก่อน เช่น 1 เดือน, 1 ไตรมาส, หรือ 1 ปี แล้วแต่องค์กร แต่ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ คือ 1 ปี เพราะในบางธุรกิจมี Sales cycle ยาว กว่าจะปิดการขายได้แต่ละดีลอาจใช้เวลาหลายเดือน เมื่อกำหนด Timeframe ได้แล้ว ทีนี้มาลองคำนวน Sales forecast กัน

ตัวอย่าง บริษัทขายซอฟต์แวร์ CRM แห่งหนึ่ง ต้องการคาดการณ์ยอดขายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2024 เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลปีที่แล้ว

  • ยอดขายปี 2023: มีรายได้ 100 ล้านบาท
  • ยอดขายไตรมาส 1 ปี 2024: 25 ล้านบาท
  • ยอดขายไตรมาส 2 ปี 2024: 28 ล้านบาท
  • จำนวนลูกค้าใหม่ปี 2023: 50 ราย
  • จำนวนลูกค้าใหม่ไตรมาส 1 ปี 2024: 12 ราย
  • จำนวนลูกค้าใหม่ไตรมาส 2 ปี 2024: 15 ราย
  • มูลค่าเฉลี่ยต่อลูกค้าใหม่ปี 2023: 2 ล้านบาท
  • ยอดขายปี 2023 เติบโต 20% จากปี 2022
  • ยอดขายไตรมาส 1 และ 2 ปี 2024 เติบโต 12% และ 11.11% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ถ้าดูจากข้อมูลปีก่อน จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตของลูกค้าใหม่เฉลี่ย 12.5% ต่อไตรมาส จึงคาดการณ์ได้ว่าในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะได้ลูกค้าใหม่ 13 ราย และมูลค่าเฉลี่ยต่อลูกค้าใหม่จะอยู่ที่ 2 ล้านบาท

ยอดขายที่คาดการณ์ = จำนวนลูกค้าใหม่ x มูลค่าเฉลี่ยต่อลูกค้าใหม่
ดังนั้น ยอดขายที่คาดการณ์ จะเท่ากับ 13 x 2 = 26 ล้านบาท

ตัวอย่างนี้เป็นเพียงแนวทางคร่าวๆ ธุรกิจแต่ละประเภทอาจมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน

เครื่องมือสร้าง Sale Forecast ในยุคดิจิทัล

จริงอยู่ว่าการนำระบบ หรือ Software ใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน อาจทำทีมขายรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากในการเข้าถึง หรืออาจไม่อยากเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผลว่าใช้เครื่องมือแบบเดิมก็สะดวกและเข้ามือดีอยู่แล้ว แต่เราขอบอกเลยว่าในยุคดิจิทัลแบบนี้ระบบ AI เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้ในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการใช้เป็นเครื่องมือสร้าง Sale Forecast ช่วยคาดการณ์ยอดขายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือไตรมาสนั้น แถมยังสามารถประยุกต์ใช้งานร่วมกันกับ Sales Report ที่ใช้อยู่ได้อย่างง่ายดาย

เครื่องมือ Sales forecast
Sales forecast จาก Wisible CRM

ซึ่งคงจะเป็นผลดีไม่น้อยถ้าสกิลการจบดีลปิดการขายของคุณ ได้รับการซัพพอร์ตด้วยระบบที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และตรงจุด อย่างการทำงานของ Machine Learning จาก Wisible ระบบอัจฉริยะ AI สามารถช่วยคาดการณ์ยอดขายได้อย่างละเอียด เพราะสามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึงขั้นประมวลผลได้ว่าลูกค้าเก่ารายไหน มีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำในเดือนหน้า หรือถ้าหากต้องการข้อมูลว่าจะกลับมาซื้อสินค้าตัวไหน ซื้อปริมาณเท่าใดก็สามารถทำได้เช่นกัน น่าสนใจขนาดนี้จะไม่ลองเปิดใจให้ Wisible หน่อยหรอ

สรุป

  • การทำ Sales forecast เป็นกระบวนการทำนายยอดขายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของธุรกิจหรือองค์กร
  • ข้อดีของการทำ Sales forecast  คือ ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการผลิต การจัดทำโปรโมชั่น และกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงเห็นภาพและเตรียมตัวตั้งรับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
  • วิธีทำ Sales Forecast ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลประวัติการขาย วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ระบุปัจจัยที่มีผลต่อยอดขาย สร้างโมเดล Sales forecast และปรับปรุงโมเดลให้เหมาะสมตามจริง
  • การใช้เครื่องมือทางสถิติ หรือโมเดล Machine Learning เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำ Sales forecast ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความแม่นยำ
  • ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Sales forecast สามารถนำไปใช้ในการวางแผนธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีการตอบสนองต่อตลาดอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Book Demo Wisible

Similar Posts