CRM คืออะไร ประโยชน์ของ CRM คืออะไร
Riki Kimura
Digital Marketing Executive at Wisible
ทุกคนเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าการรักษาลูกค้าเก่าถึง 5 เท่า” กันไหมคะ?
คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลยในยุคดิจิตอลเช่นตอนนี้ ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและทำได้ตลอดเวลา เมื่อลูกค้ามีตัวเลือกเยอะมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งลูกค้าเป็นไปอย่างดุเดือด และในมุมของผู้ประกอบธุรกิจแล้วนั้นการที่จะได้ลูกค้าใหม่เพิ่มแต่ละรายยิ่งทวีความยากขึ้นทุกวัน
ดังนั้นเมื่อลูกค้าตัดสินใจเลือกเราแล้ว เราจึงต้องใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าที่สุดด้วยการสร้างและบริหารความสัมพันธ์ไปตลอดช่วงชีวิตการเป็นลูกค้ากับธุรกิจเรา (Customer Life Cycle) ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ลูกค้าใช้งานสินค้าได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ได้รับการดูแลหลังการขายที่ดีที่สุด รู้สึกประทับใจทุกครั้งที่ได้คุยกับพนักงานของธุรกิจเราในทุกช่องทาง และสามารถสร้างความผูกพันธ์กับแบรนด์ สินค้า และบริการ ตลอดจนองค์กรของเราได้ ซึ่งในที่สุดเมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าจะต้องตัดสินใจซื้อสินค้าเดิมอีกครั้ง ก็จะทำให้มีโอกาสสูงที่ลูกค้าไม่คิดจะเปลี่ยนใจไปจากเราง่าย ๆ นำไปสู่การสร้างฐานลูกค้าที่มั่นคงและยั่งยืนนั่นเองค่ะ
และถ้าให้พูดถึงในแง่ที่มีต่อคู่แข่งแล้ว จะทำให้เรารู้ได้ในทันทีว่าสิ่งที่เรามีและคู่แข่งไม่มีก็คือความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่เรามีโอกาสให้บริการและมีปฏิสัมพันธ์กัน (Customer Engagement) สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามี “ข้อมูล” ที่คู่แข่งไม่มี และถ้าหากเราสามารถนำเอาข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริหารงานขาย การตลาด ตลอดจนถึงบริการหลังการขายได้แบบรู้ใจ ก็จะเป็นการยากมาก ๆ ที่คู่แข่งจะมาแย่งลูกค้าของเราไปได้
จึงเป็นที่มาของคำว่า “ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าน้ำมัน” และด้วยความที่ข้อมูลมีจำนวนมากเกินกว่าที่เราจะจดจำไว้ในสมองหรือจดลงสมุดได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมาจากอีกหลากหลายช่องทาง เราจึงจำเป็นต้องมี “ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า” หรือ Customer Relationship Management System (CRM System) มาช่วยนั่นเอง
เพราะฉะนั้นในวันนี้ Wisible จะหยิบยกเอาระบบ CRM มาอธิบายให้อย่างละเอียด เจาะลึกทุกข้อสงสัย พร้อมการใช้งานให้เหมาะกับธุรกิจคุณ และเหตุผลสำคัญที่ธุรกิจในยุคดิจิตอลต้องมี CRM เพื่อบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจนั่นเองค่ะ
องค์ประกอบหลักของระบบ CRM
โดยทั่วไปแล้ว ระบบ CRM จะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1. Marketing Automation
คือระบบการตลาดแบบอัตโนมัติที่สร้างจากฐานข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Dynamic หรือมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งจะสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดได้อย่างอัตโนมัติ หลักการการทำงานของมันคือการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า และใช้ซอฟต์แวร์ช่วยปรับเปลี่ยนแคมเปญแบบอัติโนมัติ เช่น Facebook Ad Manager โดบระบบจะการวิเคราะห์ข้อมูลและปรับเปลี่ยนตัวแปรต่าง ๆ เช่น ถ้าเราลงโฆษณาบน Facebook โดยใช้รูปทั้งหมด 3 รูป ระบบจะทำการวิเคราะห์ว่ารูปไหนที่สร้างผลลัพธ์ (เช่น ยอดคลิ๊ก) ได้สูงที่สุด จากนั้นก็จะทำการเปลี่ยนงบประมาณที่ใช้ลงโฆษณาของเราไปลงที่รูปนั้นให้แบบอัติโนมัติ
หรืออีกกรณีอาจจะเป็นตัวแปรเรื่องประเภทของธุรนกิจ เช่น โฆษณาที่ได้ยอดคลิ๊กสูงมากจากกลุ่มคนที่อยู่ในธุรกิจ Distribution ระบบจะทำการปรับให้คนกลุ่มนี้เห็นมากขึ้นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้รายงานระบบ Marketing Automation ก็มักจะมีความละเอียดยิบ ทำให้เราสามารถทราบข้อมูลสำคัญ ๆ ได้ เช่น Impression Click, Click Through Rate, Conversion Rate ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์กับแคมเปญได้ในอนาคต
จุดเด่นของการใช้ Marketing Automation
- เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีคุณภาพได้อย่างแม่นยำ
- เริ่มต้นการทำธุรกิจได้อย่างตรงจุด
2. Sales Automation หรือ Sales CRM
คือระบบบริหารงานขายแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยในการเก็บข้อมูลลูกค้าทั้งหมดในระบบ CRM เริ่มตั้งแต่การสร้างรายชื่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย การติดตามความคืบหน้าของการขาย การจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้า และการตอบสนองคำสั่งซื้อ ตลอดจนนำข้อมูลรายการขายทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ โดยเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้และยอดขายในแต่ละช่วงเวลา นำมาวิเคราะห์วางแผนต่อเพื่อให้สามารถปิดการขายได้มากขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดระยะเวลาในการปิดการขายและคาดการณ์ยอดขายได้อย่างแม่นยำ
โดยหากระบบที่มีความสามารถสูงขึ้นอีกก็จะเรียกว่า Sales Intelligence Platform ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารระหว่างทีมขายกับลูกค้าที่เราใช้ เช่น อีเมล, โทรศัพท์, แชท, ระบบนัดหมาย และยังสามารถเชื่อมกับระบบ Enterprise Resource Management (ERP) เพื่อดึงข้อมูลการซื้อขายในอดีต, ข้อมูลสินค้า, ราคาและส่วนลด และนำมาวิเคราะห์ด้วย Machine Learning Technology ซึ่งจะช่วยค้นหา Insight ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปิดการขายได้มากขึ้น เร็วและง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน
จุดเด่นของการใช้ Sales Automation หรือ Sales CRM
- สามารถค้นหา Insight ของลูกค้าและกิจกรรมการขายได้อย่าง Real Time
- สร้างฐาน Database ที่จะช่วยจัดการและสามารถควบคุมดีลได้อย่างเป็นระบบ
- เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและสามารถคาดการณ์ยอดขายได้อย่างแม่นยำ
ยกตัวอย่างการใช้งาน Wisible จะวิเคราะห์ข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการขาย เช่น จำนวนอีเมลที่มีการรับสั่งระหว่างทีมขายกับลูกค้า จำนวนครั้ง ความถี่ของระยะเวลาของอีเมลที่ถูกเปิด จำนวนลิ้งค์ที่ถูกคลิ๊กในอีเมลแต่ละฉบับ เนื้อหาของอีเมลที่คุยกัน จำนวนนัดหมายที่เกิดขึ้น จำนวนแชทและเนื้อหาของแชท ตลอดจนข้อมูลการซื้อขายในอดีตระหว่างบริษัทกับลูกค้า เพื่อค้นหาว่าดีลไหนที่ลูกค้าน่าจะมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าของเรามากที่สุด โดยปราศจากการคาดเดาโดยมนุษย์ เพราะเป็นการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลจำนวนมากในการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ รวมถึงเวลาของทีมขายที่มักจะมีค่าสูงให้ไปใช้เวลากับดีลที่มีโอกาสปิดการขายสูงที่สุด
3. Customer Service CRM หรือ Ticketing System
คือระบบบริหารงานบริการหลังการขาย ซึ่งเน้นไปที่การให้บริการลูกค้าหลังจากที่เริ่มใช้บริการหรือสินค้าของเราแล้ว โดยระบบจะช่วยจัดการเรื่องการรับแจ้งปัญหาหลังการขายต่าง ๆ ให้เป็นระบบ ง่ายต่อการติดตาม ทำให้บริษัทสามารถเข้าใจผลตอบรับหรือประเภทของปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปวิเคราะห์หาแนวทางในการตอบปัญหาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งาน ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาหลังการขายได้อย่างเป็นระบบ
ซึ่งระบบรายงานก็จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจภาพรวมของปัญหา สามารถต่อยอดในการวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการให้บริการหลังการขายหรือการทำการตลาดในครั้งต่อไป เพื่อให้ลูกค้าประทับใจในการให้บริการและอยากที่จะกลับมาเป็นลูกค้าอีกครั้ง
จุดเด่นของการใช้ Customer Service หรือ Ticketing System
- ติดตามระบบบริการหลังการขายได้อย่าง All In One ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารและแก้ปัญหาให้กับลูกค้า
- ระบบ CRM จะแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างอัตโนมัติในกรณีที่ปัญหาเหล่านั้นเคยเกิดขึ้นแล้ว
- มีทีมสนับสนุนตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน Library of faqs เช่น Knowledge Base
ทั้งสามองค์ประกอบหลักของระบบ CRM นั้นมีความแตกต่างกันเพื่อรองรับการทำงานให้เข้ากับธุรกิจแต่ละกลุ่มมากที่สุด เพราะฉะนั้นในแง่ของผู้ประกอบการแล้วควรพิจารณาการใช้งานระบบ CRM ให้รอบคอบ ว่าการดำเนินธุรกิจของเราเหมาะกับระบบ CRM แบบไหน แต่ถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจว่าควรใช้ระบบ CRM ประเภทไหน Wisible มีคำตอบมาช่วยให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ
ธุรกิจที่ควรใช้โปรแกรมบริหารงานการตลาดหรือ Marketing Automation
หากคุณกำลังสนใจสินค้าชนิด A อยู่ และในหนึ่งวันคุณเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ขายสินค้าชนิดนั้นวันละหลาย ๆ ครั้ง หลังจากนั้นไม่นานคุณก็จะเห็นสินค้าชนิด A อยู่ในทุก Platform ไม่เพียงแต่เว็บไซต์ที่ขาย หรือแม้กระทั่งอาจได้รับอีเมลที่เกี่ยวข้องกับสินค้า A, สิทธิพิเศษต่าง ๆ จากสินค้า A รวมถึงสินค้าใหม่ ๆ ที่มีความคล้ายหรือใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณต้องการ นั่นแหละค่ะที่หมายถึงระบบ Marketing Automation กำลังทำงานอยู่ เพราะฉะนั้นแล้วเราอาจคุ้นเคยกับการทำงานของระบบนี้ในธุรกิจ B2C โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากธุรกิจ E-Commerce ต่าง ๆ แต่ความจริงแล้วการทำงานของ Marketing Automation นั้นสามารถนำมาใช้ได้ทั้งธุรกิจ B2C และ B2B โดยที่เมื่อนำเอา Marketing Automation เข้ามาใช้งานจะทำให้เราปิดการขายได้ง่ายขึ้นเพราะรู้ว่ากำลังขายของให้ใคร ขายอะไร เเละวิธีไหนที่จะสามารถตอบโจทย์สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด ในขณะที่ลูกค้าก็จะรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการเอาใจใส่ เกิดเป็นความเชื่อมั่นในธุรกิจและมีโอกาสที่จะอุดหนุนสินค้าชนิดอื่น ๆ ตามมา
ธุรกิจที่ควรใช้โปรแกรมบริหารงานขายหรือ Sales CRM
รูปนี้จากหนังสือ Zero to One ซึ่งเขียนโดย Peter Thiel Co-Founder ของ Palantir Technologies และ Paypal
จากรูปนี้ สามารถอธิบายเรื่อง Distribution Channel ที่เหมาะกับแต่ละกลุ่มธุรกิจได้ดี โดยธุรกิจกลุ่มที่อยู่ในวงกลมขวามือ คือธุรกิจที่ขายโครงการขนาดใหญ่ให้ภาครัฐหรือองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้ต้นทุนในการหาลูกค้าหนึ่งราย (Customer Acquistion Cost or CAC) สูง และสินค้ายังมีความซับซ้อนสูง ธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้ทีมขายที่มีทักษะในการปิดการขายสูงเช่นเดียวกัน โดยการขายในลักษณะนี้ยังใช้ระยะเวลาในการขายนาน (Long Sales Cycle) อาจจะนานหลายเดือนหรือเป็นปีเลยก็ได้ แต่ถ้าปิดการขายได้สำเร็จก็คุ้มค่าเนื่องจากโครงการมีมูลค่าสูงมากเช่นกัน
เพราะฉะนั้น ด้วยเดิมพันของแต่ละดีลที่สูงลิ่ว ธุรกิจเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการติดตามการบริหารงานขายอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะต้องรู้ทุกความคืบหน้าแบบทุกฝีก้าว ทุกความเคลื่อนไหวของดีลมีความหมายต่อรายได้ของธุรกิจ ดังนั้นจึงต้องใช้ Sales CRM เข้ามาช่วยบริหารงานขายนั่นเองค่ะVisual Sales Pipeline ช่วยให้เห็นภาพรวมงานขาย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ในหน้าเดียว
ธุรกิจที่ควรใช้โปรแกรมบริหารงาน Customer Service CRM หรือ Ticketing System
เมื่อปิดการขายเสร็จสิ้นแล้ว เรื่องสำคัญที่ธุรกิจไม่ควรมองข้ามคือบริการหลังการขาย ซึ่งจุดน้ีก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจที่จะใช้บริการกับเราต่อไปยาว ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณสั่งบริการอาหารจาก Food Delivery และเมื่อได้อาหารมาแล้วกลับไม่เป็นไปตามออเดอร์ที่สั่ง คุณจึงติดต่อไปที่ Customer Support เพื่อทำการร้องเรียน เมื่อเจ้าหน้าที่รับเรื่องแล้ว เขาก็จะทำการเปิด Ticket ว่าคุณกำลังมีปัญหา และรีบประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดส่งออเดอร์ที่ถูกต้องไปให้คุณโดยทันที ซึ่งข้อมูลของคุณก็จะถูกเก็บไว้ใน Data ของ Customer service crm ไม่ว่าจะเป็นโปรไฟล์ การสั่งอาหาร สถานะการสั่งอะไรและเมื่อไหร่ และตลอดระยะเวลาในการเป็นลูกค้าเกิดปัญหาอะไรบ้าง ได้ติดต่อกับใครไปบ้าง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการสั่งอาหารจะถูกเก็บไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ Customer Support ได้สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
เพราะฉะนั้นแล้วทั้งในมุมมองของ B2C และ B2B จึงสามารถนำเอา Ticketing System มาปรับใช้ให้เหมาะสมได้ นั่นก็คือการดูแลลูกค้าหลังการขาย คอยรับปัญหาที่เกิดขึ้นและประสานงานไปยังผู้ที่ดูแลให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดนั่นเองค่ะ
Sources: https://supportbee.com/
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าการทำงานของระบบ CRM ทั้ง 3 ประเภทนั้นมีจุดที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่เเรกเริ่มคือการเปลี่ยน Lead ให้กลายเป็นลูกค้า เมื่อได้ลูกค้ามาแล้วก็ติดตามขั้นตอนการขายจนปิดการขาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย และทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้อยู่กับเราให้ได้นานที่สุด เพราะฉะนั้นธุรกิจจึงจำเป็นต้องวางแผนในการเลือกใช้ระบบ CRM ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและลูกค้า จากนั้นเรามาดูกันต่อว่าการทำงานของระบบ CRM มีหน้าที่สำคัญอย่างไรบ้าง
หน้าที่หลักของระบบ CRM
การทำงานของระบบ CRM สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ ออกเป็น 4 ข้อด้วยกัน ซึ่งจะทำงานต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การทำการตลาดเพื่อสร้างความรับรู้ (Brand Awareness) สร้างความต้องการ (Demand Generation) สร้างกลุ่มลูกค้ามุ่งหวังที่สนใจในสินค้า (Lead Generation) ไปจนถึงกระบวนการขายตั้งแต่เริ่มต้น การติดตามงานขาย การเสนอราคา การต่อรอง จนถึงการปิดการขาย ไม่เพียงแค่นั้นยังไปต่อที่การบริการหลังการขาย การติดตั้ง แก้ปัญหา การติดตามลูกค้าเพื่อให้กลับมาซื้อซ้ำได้อย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
Step 1 : Understand who is your ideal customer profile
สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้คือการที่เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นเป็นใคร โดยการเก็บข้อมูลสำคัญเช่น ชื่อผู้ติดต่อ ช่องทางการติดต่ออย่างเบอร์โทรศัพท์หรือ Email แต่ความจริงแล้วข้อมูลเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อการเก็บฐานลูกค้าหรอกนะคะ เพราะสิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือการทำ Customer Persona หรือ Buyer Persona นั่นเอง
แน่นอนว่าในขั้นแรกของการทำธุรกิจ คุณอาจไม่ทราบในทันทีว่าลูกค้าที่เข้ามาติดต่อส่วนใหญ่แล้วเป็นใคร แต่เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจไปเรื่อย ๆ คุณจะค่อย ๆ เก็บข้อมูลได้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามามีลักษณะและพฤติกรรมการซื้อเป็นอย่างไร และไม่ใช่การซื้อขายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐาน การศึกษา อาชีพ ความสนใจ ความกังวล บุคคลที่ติดตาม สื่อที่ลูกค้าชอบ สิ่งเหล่านี้จะสามารถนำมาพัฒนาเป็น Customer Persona ของธุรกิจ และนำไปสู่การแบ่ง Segment ของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ต่อไป
Step 2 : Analyze customer segmentation
วิเคราะห์โปรไฟล์และพฤติกรรมของลูกค้าจากข้อมูลที่ได้ เพื่อนำมาจัดแบ่งออกเป็นกลุ่ม เช่น แบ่งตามประเภทธุรกิจ ขนาดรายได้ของธุรกิจ พื้นที่ตั้ง จำนวนพนักงาน หรือพฤติกรรมการใช้งาน ฯลฯ
Step 3 : Increase your customers engagement
เริ่มติดต่อและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อค้นหา Painpoint หรือปัญหาที่ลูกค้าต้องการจะแก้ ทำความเข้าใจเชิงลึกเพื่อหาวิธีที่จะทำให้ลูกค้าใช้สินค้าหรือบริการของเรา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ต้องผ่านการพูดคุยกับลูกค้า หากเป็นธุรกิจแบบ B2B หรือสินค้าที่มีมูลค่าสูง ยิ่งจะต้องใช้เวลานานในขั้นตอนนี้ เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนในการตัดสินใจหลายคน และลูกค้ามักต้องการข้อมูลในปริมาณมากที่สุดเพื่อทำการตัดสินใจซื้อ
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าการติดต่อกับลูกค้าโดยไม่มีเครื่องมือเข้ามาช่วยอาจทำให้คุณพลาดโอกาสสำคัญไปได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน, ข้อมูลผิดพลาด หรือข้อมูลตกหล่นระหว่างทาง เพราะฉะนั้นแล้วการนำระบบ CRM มาใช้กับธุรกิจ จะสามารถช่วยให้ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าดีขึ้นได้ ขอยกตัวอย่างการทำงานของ Wisible ค่ะ
1. เก็บข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดไว้อย่างปลอดภัย
ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บไว้ในที่ ๆ เดียว ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการค้นหา และถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่เพียงแค่นั้น ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเรากับลูกค้าจะถูกอัปเดทอย่างเรียลไทม์ ทำให้สามารถมองเห็นทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับลูกค้าได้อย่างครบถ้วน
2. เข้าใจความต้องการของลูกค้าในเรื่องของกระบวนการขายของแต่ละธุรกิจ (Sales Process)
ขั้นตอนการขายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจจำเป็นต้องวางแผนไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับลูกค้าในแต่ละดีล และโอกาสที่จะสามารถปิดดีลนั้น ๆ ได้ก็มาจากเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นอีกด้วย เพราะฉะนั้น Wisible จึงได้ตั้งค่า Sales Stage ไว้เพื่อที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถบันทึกขั้นตอนการขายของแต่ละดีลได้อย่างถูกต้อง
3. ตั้งค่า Sales Process ให้เป็นไปตามการทำงานของลูกค้าได้
Sales Process ที่ Wisible ตั้งไว้เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการขายทั่วไป แต่ถ้าหากลูกค้ามีชื่อเรียก หรือขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงกว่านี้ก็สามารถตั้งค่าปรับเปลี่ยนเองได้
Step 4 : Personalize your product to customers
ขั้นตอนนี้จะทำการคัดเลือกและนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมเฉพาะลูกค้าแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าลูกค้าแต่ละคนย่อมมีปัญหา ความต้องการ ความชอบ งบประมาณ วิธีการตัดสินใจซื้อที่ต่างกันออกไป ดังนั้นหน้าที่ของเราจึงต้องสร้าง Proposition หรือข้อเสนอแบบเฉพาะเจาะจง (Personalized) เพื่อให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด
ได้รู้จักกันไปคร่าว ๆ แล้วนะคะ สำหรับระบบ CRM ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณได้อย่างสูงสุด แต่ทุกระบบก็ล้วนมีประโยชน์และข้อจำกัดบางประการที่ควรศึกษาเอาไว้เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงธุรกิจด้วยเช่นกัน
ประโยชน์ของระบบ CRM
1. ช่วยรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้
อัตราการรักษาลูกค้าและการยกเลิกการใช้บริการของลูกค้าจะช่วยบอกได้ว่าบริษัทประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และอะไรคืออุปสรรคในการเติบโตของธุรกิจ เพราะฉะนั้นเมื่อมีระบบ CRM เข้ามาช่วยวิเคราะห์ และจัดการดูแลลูกค้าแทนแรงงานคน ระบบจะทำให้เรามองเห็นว่าอะไรคือ Pain Point ของลูกค้าและจะสามารถปรับปรุงเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างไร
2. มองเห็นภาพรวมธุรกิจได้อย่าง Real time
การมองเห็นสถานะปัจจุบันของธุรกิจจะช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการปรับปรุงธุรกิจของคุณได้ เช่น ระบบ CRM ที่ดีจะบอกได้ว่าดีลไหนที่มีโอกาสปิดการขายได้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้โฟกัสเวลาและทรัพยากรอันมีจำกัดของเราไปที่ดีลกลุ่มนั้น และสามารถบอกได้ว่าดีลกลุ่มไหนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียไปมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เราสามารถรีบจัดการเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไม่ให้หลุดไปหาคู่แข่งได้
3. คาดการณ์ยอดขายได้อย่างแม่นยำ
หลาย ๆ ธุรกิจในไทยยังคงใช้ Spreadsheet ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย เช่น มีคนลบข้อมูลดีลเนื่องจากไม่ต้องการติดตามแล้ว หรือแก้ไขข้อมูลสำคัญบางอย่างภายในดีล เช่น มูลค่าดีล หรือวันที่ที่คาดว่าจะปิดการขาย ทำให้ข้อมูลการขายที่มาจากต้นน้ำไม่ถูกต้อง แต่เมื่อใช้ Wisible จะทำให้คุณสามารถเก็บข้อมูลดีลจากต้นน้ำได้อย่างครบถ้วนและมีความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้สามารถคาดการณ์ยอดขายได้อย่างแม่นยำ
4. ลดขั้นตอนการทำงาน ตัดงานที่ซ้ำซ้อนออก
ขั้นตอนการทำงานบางอย่างที่ต้องทำซ้ำ เช่นการกรอกข้อมูลชื่อลูกค้า ชื่อบริษัท ที่อยู่ การส่งอีเมล หรือการเตรียมใบเสนอราคาให้ลูกค้าจะหมดไปเมื่อระบบ CRM เข้ามาช่วยจัดการให้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดงานที่เคยต้องทำด้วยมือ (Manual Work) ทำให้เราสามารถนำเวลาเหล่านี้ไปโฟกัสกับงานอื่นที่มีคุณค่ามากกว่านั้นได้
5. วิเคราะห์ผลการทำงานได้ดีขึ้น
การทำงานของระบบ CRM จะช่วยทำให้ข้อมูลของคุณพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เช้าใจง่ายและมองเห็นถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างเเท้จริง ข้อมูลทั้งหมดที่คุณมีไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยอดขาย การเงิน หรือการทำแคมเปญทางการตลาด เมื่อเข้าสู่ระบบ CRM แล้วจะทำให้มันกลายเป็นตัวชี้วัดที่สามารถมองเห็นเป็นตัวเลขที่สรุปได้ว่าผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถแก้ไขปัญหาหรือ Pain Point ที่กำลังเจออยู่ได้ ศึกษาเรื่องตัวชี้วัดที่ธุรกิจ B2B จำเป็นต้องรู้ได้ที่ The B2B Key Metrics Report Thailand 2021 ข้อมูลภายในดีลถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ เพิ่มโอกาสในการปิดดีลได้มากยิ่งขึ้นSales Report สามารถดูผลการทำงานของพนักงานขายในทีมได้ ช่วยให้พนักงานเกิดแรงกระตุ้นในการให้บริการกับลูกค้า
6. จัดการฐานข้อมูลให้เป็นระบบ
การมีฐานข้อมูลที่กำลังเติบโตได้อย่างเป็นระบบจะช่วยเพิ่มคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ถือเป็นต้นน้ำในการนำไปสู่ปลายน้ำ หากธุรกิจต้องการนำข้อมูล Big Data ไปใช้เพื่อค้นหา Actionable Insight ด้วย Machine Learning ในอนาคต
7. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการกับลูกค้า
ระบบ CRM จะช่วยจัดการระเบียบข้องข้อมูลลูกค้าทั้งหมดให้ง่ายต่อการค้นหา ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ เช่น ประวัติการสั่งซื้อ การติดต่อสื่อสารจากหลากหลายช่องทาง (LINE, โทรศัพท์, Email etc.) โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเริ่มต้นเล่าเรื่องใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นำไปสู่การสร้างความประทับใจในแบรนด์ผ่านการรับบริการของเราเอง
8. ธุรกิจทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจในทุกวันนี้มีการทำงานบางขั้นตอนที่ทำต้องทำซ้ำ ๆ ทุกวัน การมีระบบ CRM เข้ามาช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานได้ และการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกในทีมก็ทำได้ง่ายดาย ไปจนถึงการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานออกมาเป็นหน้า Dashboard ที่จะช่วยให้คุณได้รับข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจได้ Dashboard ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นผลการดำเนินธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ และสามารถคาดการณ์ยอดขายได้แม่นยำยิ่งขึ้น
9. ช่วยปรับปรุงการสื่อสารการทำงานภายในทีม
การสื่อสารที่ผิดพลาดและได้รับข้อมูลระหว่างในทีมที่ไม่ครบถ้วนจะทำให้เสียเวลาการทำงานเป็นอย่างมาก เช่น ข้อมูลลูกค้าเก่าหายไป เซลคนเก่าลาออกและเซลคนใหม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลลูกค้าเอง ปัญหาเรื่องการสื่อสารเหล่านี้จะหายไปเมื่อระบบ CRM สามารถให้สมาชิกในทีมทำงานร่วมกัน และจะช่วยปรับปรุงการทำงานให้ทุกคนรับรู้ไปในทิศทางเดียวกันว่าเกิดอะไรขึ้นในแต่ละขั้นตอนการขาย รวมถึงทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้ ทำให้การสื่อสารของสมาชิกในทีมเป็นไปได้อย่างราบรื่น
10. มีความโปร่งใส
ระบบ CRM จะควบคุมให้การทำงานภายในองค์ของคุณเป็นไปด้วยความโปร่งใส เพราะทุกคนจะเห็นว่าใครถูก aissign ให้ทำงานอะไร และงานนั้น ๆ สำเร็จลุล่วงถึงขั้นตอนไหนแล้ว เช่น ถ้าหากคุณตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากให้ยอดขายเป็นเท่าไหร่ คุณก็สามารถติดตามยอดขายที่เกิดขึ้นจริงในตอนนี้ได้จากทีมขายแต่ละคนอย่าง Real Time เมื่อทุกคนสามารถมองเห็นการทำงานร่วมกันได้ ก็จะช่วยให้เข้าใจภาพรวมการทำงานของธุรกิจได้
ข้อจำกัดของระบบ CRM
1. แรงต้านจากกลุ่มที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงการทำงานโดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อาจสร้างปัญหาในแง่ของความไม่คุ้นชินและอาจทำให้ปรับตัวลำบาก ก่อให้เกิดความยุ่งยากให้คุณและพนักงานในบริษัทได้ในช่วงแรก ซึ่งช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านนี้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด เพื่อมิให้เกิดแรงต้านและทำให้ทุกคนยอมรับในระบบได้ในที่สุด
2. ความเสี่ยงจากระบบอินเตอร์เน็ตล่ม
การใช้ซอฟต์แวร์ CRM ซึ่งเป็นระบบการทำงานแบบออนไลน์ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะใช้งานไม่ได้หากอยู่ในจุดอับสัญญาณอินเตอร์เน็ต แบตเตอรี่หมด หรือระบบอินเตอร์เน็ตล่ม สำหรับชนิดของ CRM และประเภทของ CRM นั้น ในทุกวันนี้ก็มีให้เห็นกันมากมายทั้ง Web CRM, CRM ออนไลน์ รวมถึงมี Sales CRM ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทในประเทศของเราเอง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในแบบที่ SME บ้านเราต้องการได้อย่างตรงจุด
ตัวอย่างการใช้งานระบบ CRM จริงในธุรกิจจัดจำหน่ายยานยนต์
Case Study : 7 years life cycle in Automotive industry
ซึ่งทั้งหมดนี้ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ระบบ CRM นั้น ช่วยให้คุณสามารถเจาะลึกถึงพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจง ถ้าเรา เลือก CRM ที่เหมาะสมกับธุรกิจและมีประสิทธิภาพ (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่) ก็จะช่วยทำให้เรามีข้อมูลจริง ที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้าง Loyalty ระหว่างลูกค้าและแบรนด์ให้เกิดขึ้นได้ ทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจและซื้อซ้ำต่อเนื่อง สร้างรายได้ให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน
ยิ่งเมื่อเราใช้เป็นระบบ CRM หรือการสื่อสารกับลูกค้าผ่านระบบการทำงานอัตโนมัติ ยิ่งช่วยให้คุณเห็นผลลัพธ์ที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในเวลาที่น้อยลง และมีเวลาไปมุ่งเน้นดูแลลูกค้าได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องเหนื่อยเหมือนเดิมอีกต่อไป ถึงเวลาแล้วสำหรับธุรกิจในยุคดิจิตอล ศึกษาการใช้งานระบบ CRM ที่มีประสิทธิภาพและจะช่วยให้การบริหารการขายของคุณไม่ยุ่งยากอีกต่อไปที่ Wisible
The B2B Key Metrics Report Thailand 2021
กลับมาอีกครั้งกับรายงานที่รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 50,000 ดีล นำไปสู่การสร้างตัวชี้วัดเพื่อวัดผลการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจ B2B ได้ทราบว่าตัวเองอยู่จุดไหนเมื่อเทียบกับธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น !
ติดตามข่าวสารและสาระดีๆเกี่ยวกับระบบ CRM Platform ได้ที่นี่