บริษัทก็ใช้ ERP อยู่แล้วทำไมถึงต้องมี Sales CRM อีก?

Riki Kimura wisible author

Riki Kimura

Digital Marketing Executive at Wisible

ERPvsCRM

บริษัทเราก็ใช้ ERP ทุกวัน ก็ดีอยู่แล้ว! จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ Sales CRM ด้วยหรือ? จะตอบคำถามนี้ได้ ก็ต้องถามตัวเองด้วยชุดคำถามเหล่านี้ก่อนครับ

ข้อมูลใน ERP มีดีลที่ยังไม่ปิดการขายด้วยไหม ?

a. มีสิ ERP ของเรามี Sales Module ด้วย และเซลทุกคนกรอกดีลเข้ามาตั้งแต่วันแรกที่เจอลูกค้าและหมั่นอัพเดทความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอเพิ่งถึงวันที่ปิดการขายเลย

b. ทุกวันนี้เซลมาทำใบเสนอราคาบน ERP ก็ต่อเมื่อดีลนั้นปิดการขายเรียบร้อยแล้ว และถูกบังคับว่าต้องมีกรอกข้อมูลลง ERP เท่านั้น ไม่ฉะนั้นจะออก Sales Order ให้ทีมหลังบ้านทำงานต่อไม่ได้?

ร้อยละ 90% ขององค์กรจะตอบข้อ b. ซึ่งแปลว่าผู้บริหารจะไม่รู้สถานะของงานขาย หรือภาษาเซลเรียกว่า Sales Pipeline เลย เพราะกว่าข้อมูลจะเข้าสู่ระบบก็ต้องรอจนกว่าจะปิดการขายเรียบร้อยแล้ว ซึ่งช้าไป 

จะบอกว่าไม่รู้เลยก็อาจจะเกินเลยไป เพราะจริง ๆ เกือบทุกองค์กรก็จะมีการประชุมทีมขายเป็นระยะอยู่แล้ว แล้วแต่ความขยัน เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ หรือทุกเดือน ซึ่งพิธีกรรมที่ทำกันเป็นประจำเรียกว่า ‘ไล่ Pipeline’ เพื่อติดตามความคืบหน้าของทุกดีล ดูว่าดีลไหนมาใหม่ ดีลไหนใกล้ปิดการขาย ดีลไหนดูอาการไม่ดีน่าจะเสียท่าให้คู่แข่ง 

แล้วข้อมูล Sales Pipeline เหล่านี้อยู่ในระบบไหน ถ้าไม่ใช่ ERP ร้อยละ 90% คือใช้ Excel Spreadsheet ธรรมดานี้ล่ะเป็นเครื่องมือการบริหาร/งานขาย 

Spreadsheet Document Information Financial Startup Concept
การเก็บข้อมูลลูกค้าใน Excel คือระเบิดเวลาที่อาจเสียหายถึงขั้นทำให้ธุรกิจพังได้!

‘ซึ่งหารู้ไหม่ว่าการปล่อยให้เซลเก็บข้อมูลลูกค้าใน Excel คือระเบิดเวลาที่อาจเสียหายถึงขั้นธุรกิจพัง!’

มันจะร้ายแรงขนาดนั้นเลยเชียวเหรอ คุณอาจกำลังคิดในใจ? ออกตัวก่อนว่า Excel Speadsheet ไม่ใช่ผู้ร้าย และเป็นโปรแกรมที่ดีมาก ๆ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบบริหารงานขาย

อันดับแรกเลยคือ ดีลมันถูกลบได้!

ดีลไหนที่ไม่อยากถูกหัวหน้าตาม เซลการอาจแอบลบออกจะเลย มีดีลเป็นร้อยลบออกบรรทัดนึง หัวหน้าจำไม่ได้หรอก นี่คือปัญหาคลาสสิกที่หัวหน้าทีมขายในธุรกิจ B2B คงเคยเจอ

สอง โอเคไม่ลบออก แต่ก็แอบแก้ไขข้อมูลได้อยู่ดี 

เกิดมีหัวหน้าความจำแม่นขึ้นมา เซลก็อาจใช้วิธีแก้ตัวเลขมูลค่า เช่น ตอนเปิดมูลค่าดีล 2 ล้าน ตอนปิดทำไมมันเหมือน 2 แสนได้นะ หัวหน้าอาจแอบคิดสงสัย

เอาแค่ปัญหาสองเรื่องพื้น ๆ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ที่ทำให้เกิดเครื่องมือ Sales CRM ขึ้นมาบนโลกเพื่อแก้ปัญหานี้ ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่มีดีลมูลค่าสูง กว่าจะได้ดีลใหม่มาต้องลงทุนลงแรงไปมหาศาล ดังนั้นต้องติดตามทุกดีลอย่างใกล้ชิด

แล้วคุณรู้ไหมว่าในดีลทั้งหมดแพ้ แพ้เพราะอะไร?

อีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอบ่อยคือบริษัทมักจะรู้ดีลที่ชนะกี่ดีลเท่านั้น (Won Deal) แต่ไม่มีข้อมูลดีลที่แพ้ให้ (Lost Deal) และแพ้ด้วยเหตุผลอะไร ผมขอยกตัวอย่างเป็นบริษัทโชว์รูมรถชื่อดังแห่งหนึ่งละกัน ให้ลองนึกภาพตามว่าทีมขายกำลังประชุมสรุปผลงานประจำเดือน

เจ้าของบริษัทตั้งคำถามว่า “เดือนที่แล้วมีลูกค้ามาดูรถและทดลองขับกี่คน? ปิดการขายได้กี่คัน? และแพ้กี่ดีล?”

ผู้จัดการฝ่ายขายตอบว่า “เดือนที่แล้วขายได้ 50 คัน มีคนมาดูรถและทดลองขับประมาณ 200 คน แต่มีคนทักเข้ามาเกือบพันคน ผ่านโฆษณาและช่องทางออนไลน์ต่างๆ ปิดการขายได้เพียง 5%”

นั่นหมายความว่า มีดีลที่แพ้ไปถึง 950 ดีล! แต่ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีอยู่ในระบบ ERP ระบบ ERP จะสร้าง Sales Order (SO) ก็ต่อเมื่อลูกค้าซื้อรถแล้วเท่านั้น ข้อมูลลูกค้าที่มาโชว์รูม, ทดลองขับ, ขอใบเสนอราคา, หรือทักแชท จะกระจายอยู่ตามระบบต่างๆ เช่น Excel, LINE/Facebook, Email, และ Web Form

ซึ่งการติดตามข้อมูลทั้งหมดนี้ยุ่งยากมาก พนักงานต้องจดตัวเลขลง Excel และส่งรายงานผ่าน LINE ทุกวัน แต่ข้อมูลเหล่านี้เชื่อถือได้แค่ไหน?

และหากใบเสนอราคาที่ทำใน Excel ไม่ได้อยู่ในระบบ ERP เลขาจึงต้องแชทไปถามเซลล์ทุกคนใน LINE Group ข้อมูลที่ส่งมาก็เชื่อตามนั้น ทำให้ทีมเซลแจ้งตัวเลขเฉพาะที่มั่นใจว่าจะปิดการขายได้เท่านั้น ดีลที่ปิดการขายไม่ได้จะไม่ถูกบันทึก ทำให้เจ้าของบริษัทมองไม่เห็นข้อมูลของ Lost Deal ซึ่งอาจมีมูลค่ามหาศาล

Deal Lost Reason Analogy
ตัวอย่าง Sales Pipeline ของบริษัทโชว์รูมรถยนต์

แล้วจะแก้ปัญหาเล่านี้ยังไง?

ระบบที่แสดงภาพรวมของยอดขาย (Sales Pipeline) แบบครบวงจร ตั้งแต่วันแรกที่ลูกค้าทักมาจนถึงวันตัดสินใจซื้อ จะทำให้เห็นชัดเจนว่าดีลไหนหายไป หรือแพ้ด้วยเหตุผลอะไร

เจ้าของบริษัทควรติดตามดีลที่ปิดการขายไม่สำเร็จ (Lost Deal) ด้วย ตัวเลขที่ซ่อนอยู่เหล่านี้อาจมีมูลค่ามหาศาล เช่น ดีลที่ลูกค้าทักมาแล้วหายไป หรือเซลส์ตอบกลับช้า ให้ถือเป็น Lost Deal และ ดีลที่ลูกค้าเลือกซื้อยี่ห้ออื่นหรือตัวแทนจำหน่ายอื่น ก็ต้อง Mark Lost เช่นกัน หรือ ใบเสนอราคาที่ส่งออกไปแล้วเกิน 4 เดือน ควร mark Lost

การ Mark Lost Deal ช่วยให้มองเห็นภาพที่แท้จริงของ Sales Pipeline และไม่หลอกตัวเองว่ามีดีลใน Pipeline เยอะ

ลองคำนวณค่า Lost Deal กับ Average Deal Value จะพบว่ามีมูลค่ามหาศาลและเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่สูญเสียไปให้กับคู่แข่ง

Lost Deal เหล่านี้คือ Won Deal ของคู่แข่ง ซึ่งได้มาจากลูกค้าที่เราทุ่มเทงบการตลาดไป แต่ไม่สามารถเปลี่ยน Lead เป็นลูกค้าได้

สรุปก็คือ Sales CRM ไม่ได้มาแทนที่ ERP แต่มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ ERP ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลการขายที่ครบถ้วน วิเคราะห์กลยุทธ์การขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสปิดการขาย

ปรึกษาทีมงาน Wisible CRM ได้ที่ Book Demo

demo booking

รับข่าวสารและโปรโมชั่นสุดพิเศษ

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสารและกิจกรรมพิเศษ

Similar Posts