13 ปี ของ ‘Cumulate Plus’ ธุรกิจที่ ‘แปรรูปขยะ’ กว่า 100,000 ตัน เป็นสนามออกกำลังกายหลายพันแห่ง
Riki Kimura
Digital Marketing Executive at Wisible
ตามข้อมูลของกรมโรงอุตสาหกรรม ซึ่งได้แสดงสถิติจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน โดยมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 138,807 แห่ง ทั้งนี้ข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยก็ยังได้เปิดเผยเอาไว้ว่า มีปริมาณขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมในไทยถูกส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธีไม่ถึงครึ่ง ส่วนที่กำจัดผิดวิธีนั้นก็ก่อมลพิษ สร้างผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ขณะเดียวกันการกำจัดขยะพิษจากโรงานอุตสาหกรรมเป็นขยะที่ต้องได้รับการกำจัดอย่างพิเศษ แต่โรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในไทยที่ได้มาตรฐานยังมีเพียงไม่กี่ราย สวนทางกลุ่มลักลอบทิ้ง หรือธุรกิจสีเทารับกำจัดโดยไม่ถูกต้อง
เมื่อจำนวนโรงงานรับกำจัดที่ถูกกฎหมายในไทยไม่สมดุลกับจำนวนขยะที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นที่น่าสนใจว่าประเทศไทยควรสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีสูงได้เข้ามาทำธุรกิจกำจัดขยะมากขึ้นแล้วหรือยัง?
จากข้อข้องใจนี้ เนวิเกเตอร์ความสงสัยก็ได้พาเราไปยังบริษัท Cumulate Plus จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับกำจัดขยะและบำบัดขยะ Industrial Waste จำพวกขยะไม่อันตรายที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือกลุ่มที่เรียกว่า รง 4. ประเภท 105,(53)9 คัดแยกบดย่อยและแปรรูป ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เช้าวันศุกร์สัปดาห์สุดท้ายในเดือนฝนพรำ เราขับรถจากเมืองหลวงมุ่งหน้าสู่อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากนิคมอุตสาหกรรม 304 ใช้เวลาจากเมืองกรุงไม่นานก็ถึงที่หมายที่ปักหมุดเอาไว้ ทันทีที่รถจอดนิ่งสนิท ‘คุณเอก-พงษ์ธเนศ สมบัติมาก’ ก็ได้ออกมาต้อนรับเราเข้าไปสู่โลกของธุรกิจแปรรูปขยะจากโรงงาน
‘คุณเอก-พงษ์ธเนศ’ คือผู้ก่อตั้ง บริษัท Cumulate Plus จำกัด ทว่าเขาเป็นทั้งผู้จัดการ เซลล์และผู้บริหารโรงงานกำจัดและบำบัดขยะ
เขาดำเนินธุรกิจนี้มาแล้วกว่า 13 ปีและได้เปลี่ยนขยะไม่อันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 100,000 ตัน ให้กลับมาเป็นวัสดุมีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง โดยประตูโรงงานแห่งนี้ได้ทำหน้าที่ทั้งเปิดรับขยะ หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อนำมาแปรรูป ขณะเดียวกันประตูบานเดียวกันนี้ก็สลับเปิดออกเพื่อนำส่ง Finnished Goods หรือวัสดุที่ได้ถูกแปรรูปแล้วกระจายออกไปเพื่อใช้ประโยชน์ต่อ
ขณะที่คุณพงษ์ธเนศเดินนำหน้าเราไปยังจุดแยกเศษวัสดุบนพื้นที่ทำงานกว่า 3 ไร่ของเขา ฝนก็เริ่มโปรยลงมาเม็ดบางๆ ในเวลาเดียวกัน รถบรรทุกทั้ง 2 คันก็ได้ทยอยนำขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมมาลำเรียงไว้เพื่อรอเข้าสู่ขบวนการแปรรูป หรือการเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี
‘หน้าที่ของผมคือทำให้โรงงานลูกค้าไม่รก ไม่มีขยะ ไม่มีอะไรกองอยู่เกะกะ ถ้าเขามีขยะกองใหญ่อยู่ในโรงงาน นั่นคือหน้าที่ที่ผมจะต้องออกไปทุกๆ วัน ออกไปรับขยะจากเขากลับมาคัดแยกที่โรงงานเรา’
ชายเจ้าของโรงงานแปรรูปขยะบอกเรา พลางบอกทางเพื่อให้เราเดินอย่างระมัดระวัง พร้อมกับนำหน้าเพื่อพาไปดูขั้นตอนการกำจัดขยะที่สร้างมลพิษต่อชุมชนน้อยที่สุดแต่สร้างประโยชน์ต่อมนุษย์ได้มากที่สุด
ภูเขาเส้นยางปริมาณกว่า 100,000 ตันที่ถูกป้องกันไม่ให้ถูกนำไปฝังกลบ
เราจินตนาการตัวเองเป็นนักเรียนที่กำลังมาทัศนศึกษาในโรงงานแปรรูปขยะ ส่วนชายผู้เดินนำหน้าก็ทำหน้าที่เป็นวิทยากรที่กำลังบรรยายถึงนิยามของ ‘ขยะ’ ที่กองทับถมกันที่อยู่ต่อหน้าเพื่อรอวันแปรรูป เขาอธิบายว่า ขยะที่รับมานั้นเป็นขยะกลุ่มที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงงาน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งได้แก่ เศษเหล็ก พลาสติก ยาง ขวดแก้วและหนัง ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ก่ออันตรายต่อมนุษย์
เจ้าของโรงงานแห่งนี้ยังคงเดินนำหน้าเรา และเรากำลังเข้าใกล้ภูเขาเส้นยางสีดำในทุกๆ ฝีเท้าที่ก้าวไปข้างหน้า ระหว่างยืนอยู่ท่ามกลางกองยาง เจ้าของพื้นที่ 3 ไร่แห่งนี้ก็หยิบตัวอย่างเส้นยางที่ถูกเรียกว่า ‘ขยะ’ ขึ้นมาให้เราดูเพื่อประกอบการอธิบายว่า ขยะหนึ่งชิ้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ทั้งยางและเหล็กหากไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะเหล่านี้ก็จะกลายเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
เขาเปรียบเทียบว่าปริมาณของขยะที่เราเห็นกองนี้ รวมกันแล้วมีน้ำหนักราวๆ 30 ตัน และหากนึกภาพไม่ออก ลองจินตนาการตามว่าขยะปริมาณ 15 ตันเทียบได้เท่ากับรถสิบล้อ 1 คัน สำหรับคนไม่เก่งเลขอย่างเราก็พอจะนึกตามและคำนวนได้คร่าวๆ ว่า แต่ละปีธุรกิจเล็กๆ นี้ ได้ช่วยให้ขยะไม่ถูกนำไปฝังกลบรวมแล้วปีละกว่า 1,000 – 2,000 ตัน ตลอดระยะเวลากว่า 13 ปีของธุรกิจนี้ที่ดำเนินกิจการบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ ได้รับขยะเข้ามาแยกชิ้นส่วนและแปรรูป ตลอดจนได้ขนออกวัสดุที่แปรรูปแล้วกระจายไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ทั้งหมดที่เขาเล่ามา เราคำนวณได้คร่าวๆ ว่าธุรกิจของเขานั้นจะช่วยให้ขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 100,000 ตันไม่ต้องถูกนำไปฝังกลบ
ที่มาของขยะและที่ไปของขยะที่ถูกแปรรูปแล้ว
‘หากไม่มีโรงงานกำจัดขยะอย่างพวกเรา โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะเอาขยะพวกนี้ไปฝังกลบดิน โดยขยะเหล่านี้จะใช้เวลาในการย่อยสลายนาน 200 – 300 ปี’
เขาให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ขยะที่รับมานั้น ล้วนแล้วแต่มาจากโรงงานที่ใส่ใจขั้นตอนการกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น โรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีเศษวัสดุเหลือจากการผลิตปริมาณมหาศาล โรงงานเหล่านี้จึงส่งต่อขยะให้ผู้ให้บริการรับกำจัดขยะและบำบัดขยะ Industrial Waste นำไปแปรรูปเพื่อเอากลับมาใช้งานใหม่ได้แบบ 100% ด้วยกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชน
ฝนเริ่มลงเม็ดถี่ เราเดินผ่านภูเขาสีดำเข้าไปยังโรงเครื่องจักรใหญ่ ขณะที่เรายังตื่นเต้นกับกองซากเศษยางอยู่นั้น ก็ได้พบว่าภายในมีสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่า เมื่อได้เห็นว่าขยะจากด้านนอกถูกลำเรียงเข้ามาเพื่อคัดแยกและแปรสภาพไปสู่สิ่งต่างๆ โดยจะไม่ถูกฝังกลบเลย
ภายในโรงเครื่องจักรแห่งนี้ มีทั้งเครื่องจักรแปรรูปจากชิ้นส่วนยางให้เป็นเม็ดยางขนาดต่างๆ ตั้งแต่ 4 เซนติเมตรจนเหลือขนาดเล็กเท่าโมเลกุลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ส่วนหนึ่งที่ถูกแปรรูปเป็นเม็ดยางก็จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างเป็นลู่วิ่งและสนามกีฬามาแล้วปริมาณกว่า 30,000 ตัน และบางส่วนก็สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า รวมถึงสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อหลอมผลิตภัณฑ์พลาสติกขึ้นมาใหม่ได้
‘Cumulate Plus’ ธุรกิจที่ตั้งใจจะเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นวัสดุที่มีประโยชน์
จากความตั้งใจของชายผู้ยืนบรรยายอยู่เบื้องหน้า ทำเราให้เรานึกถึงธุรกิจในอนาคตเมื่อคนทั่วโลกกำลังร่วมมือกันลดปริมาณขยะ รัฐบาลในประเทศต่างๆ ต่างก็สนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพร้อมเดินหน้าผลักดันการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ‘คุณเอก-พงษ์ธเนศ’ บอกเราว่า ‘Cumulate Plus’ คือธุรกิจ 1 ในจำนวนเพียง 3,000 ธุรกิจในเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างถูกวิธี ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ
เขาเริ่มต้นธุรกิจในช่วงที่เมืองไทยยังไม่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม จากการเริ่มต้นเป็นผู้ให้บริการรับกำจัดขยะ Industrial Waste ก็ได้ขยับขึ้นมาเป็นผู้ผลิตเม็ดยางรีไซเคิลควบคู่ไปด้วย
ปัจจุบันอัตราส่วนของธุรกิจกำจัดขยะ 1 แห่งนั้น จะต้องดูแลขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมถึง 47 แห่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กิจการขนาดเล็กของเขามีกำลังคน กำลังเครื่องจักรและศักยภาพในการบัด กำจัดและแปรรูปขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 3 – 4 แห่งจากโรงงานอุตสาหรรมในจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น โดยเขาก็มองว่าอัตราส่วนในการดูแลกำจัดขยะภายในประเทศที่ไม่สมดุลเช่นนี้ จะยิ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้คนในอนาคตแน่นอน
จากวันแรกที่เริ่มต้นธุรกิจ เขาเริ่มจากทีมเล็กๆ กระทั่งในก้าวปีที่ 13 นี้ ธุรกิจของเขายังคงมีกำลังในการรับปริมาณขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมได้เพียงเดือนละ 1,000 – 2,000 ตัน ด้วยแรงงานคนไม่กี่สิบคน พร้อมกับรถบรรทุกอีก 2 คัน จากขยะจำนวนมหาศาลที่ทยอยขนเข้า เขาสามารถแปรรูปขยะเหล่านั้นจนสามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ นอกจากลดการฝังกลบแล้ว กิจการของเขาก็ยังช่วยลดการนำเข้าเม็ดยางจากต่างประเทศปีละหลายพันตันเลยทีเดียว
ธุรกิจในอนาคต จะต้องตอบโจทย์คนในอนาคตด้วย
ประตูของ ‘Cumulate Plus’ ที่ได้เปิดต้อนรับในวันนั้น ประตูบานเดียวกันนี้ยังสะท้อนให้คนนอกอย่างเราได้เห็นว่าธุรกิจกำจัดและบำบัดขยะกำลังจะกลายเป็นธุรกิจมาแรงในอนาคตได้ เพราะ ‘โลก’ ได้ส่งสัญญาณต่อมนุษยชาติแล้วว่า วันนี้ทุกคนต้องช่วยกันดูแล ‘โลก’
ในประเทศไทยยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกมากมายที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคที่ต้องการกำจัดและบำบัดขยะอย่างถูกวิธี ทว่า ‘Cumulate Plus’ เองยังมีข้อจำกัดในการให้บริการ เนื่องด้วยพื้นที่ให้บริการและกำลังคน แต่ในอนาคตผู้ประกอบการคนนี้ก็ได้วางแผนขยายกำลังในการดูแลจัดการขยะโรงงานอุตสาหกรรม ตามความตั้งใจที่เขาอยากช่วยดูและพื้นที่โรงงานให้สะอาด และอยากช่วยให้ขยะเหล่านั้นไม่ต้องถูกนำไปฝังกลบแต่ถูกนำกลับใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง
Software ของ Wisible กับการจัดการงานของ Cumulate Plus
‘คุณเอก-พงษ์ธเนศ’ นอกจากเป็นผู้ก่อตั้งแล้ว ยังดูแลงานประมูลขยะจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำหน้าที่เซลล์ส่งสินค้าแปรรูปไปยังบริษัทคู่ค้าและเป็นผู้จัดการที่ดูแลภาพรวมการทำงานของคนในโรงงานด้วย เมื่องานล้นมือแต่ยังมีแพชชันแรงกล้าในการแปรรูปขยะอยู่ เมื่อมีแผนขยายการให้บริการ เขาจึงได้มองหา Sotfware เพื่อช่วยลดภาระและลดความซ้ำซ้อนของงาน เพื่อที่ว่าในวันข้างหน้าเมื่อพร้อมขยายทีม เขาจะสามารถได้ส่งต่องานให้กับทีมได้ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉกเช่นกับที่เขาเคยดูแลลูกค้ามาตลอด 13 ปี
ธุรกิจของ ‘Cumulate Plus’ ซึ่งดำเนินกิจการในรูปแบบ Inputs และ Outputs เป็นการนำเข้าขยะเข้ามาแปรรูป เมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วก็ต้องส่งออกไป ในเวลาเดียวกันก็หมายถึงการติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องมากมายด้วย เมื่อเริ่มจัดการงานที่เข้ามาอย่างล้นมือไม่ไหวแล้ว เขาจึงได้เริ่มนำ Software จาก Wisible เข้ามาช่วยจัดการงานทั้งการเก็บข้อมูลและการติดตามงานในขั้นตอนต่างๆ รวมไปถึงการจัด Route การขนส่งด้วย
เมื่อแปรรูปขยะไปสู่เม็ดยางเรียบร้อยแล้ว เขายังต้องบริหารจัดการสินค้าเหล่านี้เพื่อกระจายสินค้าไปยังบริษัทคู่ค้าเพื่อนำไปสร้างเป็นสนามกีฬาหรือลู่วิ่ง และทุกๆ 4 เดือน ผู้ให้บริการสร้างสนามกีฬาเหล่านี้จะต้องเติมเม็ดยางลงในสนามหญ้าเทียมเพื่อช่วยรักษาสภาพผิวให้มีประสิทธิภาพต่อการใช้งานและเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น เขาก็ได้เอาระบบการทำงานของ Wisible เข้ามาช่วยในเรื่องการติดตามเพื่อแจ้งเตือนให้กับลูกค้า
‘ที่ผ่านมาผมทำงานคนเดียว ส่วนการจัดเก็บข้อมูลตัวเลขและยอดขายก็จะรวมไว้ในไฟล์ Excel ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลที่ไม่ละเอียด ต้นปีที่ผ่านมาผมเริ่มเอาระบบของ Wisible เข้ามาช่วยงาน เริ่มตั้งแต่ การบันทึกข้อมูลของ Contact Person จากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ Data Base
ในพาร์ทของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ให้บริการสร้างลู่วิ่งและสนามกีฬาที่ผมจำหน่ายเม็ดยางผมออกไป ผมก็บันทึกข้อมูลลูกค้าทั้งหมดไว้ใน Data Base เช่นกัน จากการใช้งาน Wisible ในช่วงที่ผ่านมา ผมพบว่า Software นนี้มีประโยชน์กับงานของผม เช่น ในสนามฟุตบอลหญ้าเทียมเมื่อใช้งานไปซักระยะก็จะสึก เมื่อโดนความร้อนหญ้าเทียมก็จะหงิกงอ จึงมีกำหนดเติมเม็ดยางในทุกๆ 4 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งาน ดังนั้น ผมก็จะตั้งเตือนใน Wisible เพื่อที่จะติดตามและดูแลเสริมยางให้’
ธุรกิจในยุค Digital นั้นสามารถใช้ Digital Tool เข้ามาช่วยจัดการเพื่อลดความซับซ้อนในการทำงานได้ เช่นกันกับที่ ‘คุณเอก-พงษ์ธเนศ’ ได้ย้ำกับเราว่าการดูแลจัดการ การกำจัดและบำบัดขยะก็ยังต้องทำงานอย่างเป็นระบบ การทำงานหลังบ้านก็เช่นกัน เขาต้องเก็บข้อมูลลูกค้าให้เป็นระบบด้วย
‘แม้จะทดลองใช้งานระบบของ Wisible มาไม่ถึงปี แต่วันนี้งานที่ซ้ำซ้อนถูกลดลงไปมาก Data Base ที่เก็บสะสมเอาไว้ทำให้ผมสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับการวางแผนงานในอนาคตได้’
ฝนที่ตกลงมาเม็ดบางๆ ในช่วงเช้าเริ่มหายไป แสงแดดยามบ่ายกำลังกลับมา เราขับรถมุ่งหน้ากลับสู่เมืองกรุง หลับจบการสนทนาในบ่ายวันนั้น สุดท้ายแล้วเราก็ยังเชื่อว่า Wisible เองในฐานะผู้ให้บริการระบบจัดการข้อมูล ระบบจัดการงานขาย ก็อยากเส้นทางข้างหน้าของผู้ให้บริการกำจัด บำบัดและแปรรูปขยะโรงงานอุตสาหกรรมอย่าง ‘บริษัท Cumulate Plus จำกัด’ อีกไกล ๆ เช่นกัน