โควิดก็ต้องระวัง ของก็ต้องขาย ธุรกิจต้องเดินต่อไป กับ 23 เครื่องมือออนไลน์ที่ธุรกิจไทยต้องใช้ในยุค Social Distancing
Saroj Ativitavas
Founder of Wisible, a Sales Intelligence Platform that helps business drives predictable revenue with data-driven decision
ทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ และครั้งนี้ก็เช่นกัน ไวรัสโควิดถือเป็นอีกหนึ่งบททดสอบที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องฟันฝ่าไปให้ได้ มนุษยชาติพิสูจน์มาครั้งแล้วครั้งเล่าว่าสามารถมีชีวิตรอดผ่านวิกฤตการณ์ในอดีตมาได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันที่เราทุกคนจะต้องผ่านมันด้วยกันให้ได้
ซึ่งหากจะมองในด้านดี ไวรัสโควิดช่วยเร่งให้ธุรกิจปรับตัวเข้าสู่เข้าดิจิตอลแบบไฮสปีด ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ แต่วันนี้ธุรกิจต้องเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด
วันนี้เราจะขอแนะนำ 23 เครื่องมือออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจคุณเดินหน้าได้แบบไม่สะดุดในยุคไวรัสโควิด19 ที่เราทุกคนต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
A. ถ้าเรา Work From Home กันแล้วใครจะรับโทรศัพท์ที่ออฟฟิศ?
เรื่องแรกเลยที่เราต้องจัดการคือระบบโทรศัพท์สำนักงาน
1. Office24
Office24 เป็นบริการรับสายโทรศัพท์แทนเรา ทำให้เรามั่นใจได้ว่าทุกโอกาสธุรกิจที่เข้ามาทางโทรศัพท์จะไม่ตกหล่น บางครั้งเราไม่สะดวกรับสาย หรือติดสายอื่นอยู่ ทำให้อาจพลาดโอกาสดีดีไปได้ ซึ่ง Office 24 จะช่วยจัดการปัญหานี้ให้หมดไป ด้วยบริการรับสายแทนเราได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ทำหน้าที่เป็นคอลเซ็นเตอร์ให้กับธุรกิจ สามารถเลือกได้ว่าเมื่อลูกค้าโทรมาแล้วให้โอนสายหาทีมขายต่อทันทีหรือจะให้จดบันทึกและส่งอีเมล์สรุปมาให้ สะดวกมากๆ มีเจ้าหน้าที่สื่อสารได้หลายภาษา เชื่อมข้อมูลเข้าระบบ Sales CRM เพื่อรวมศูนย์ข้อมูลลีดไว้ที่เดียว
ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่ม เริ่มต้นใช้ได้เลยวันนี้
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
เริ่มที่ 699 THB จนถึง 2,699 THB
2. iConnect PBX
ถ้าคุณต้องการบริหารระบบตู้สาขาโทรศัพท์เองภายใน iConnect PBX คือคำตอบ ทำหน้าที่เป็นระบบตู้สาขาโทรศัพท์ดิจิตอล ที่ช่วยจัดการเวลาที่ลูกค้าโทรเข้าเบอร์บริษัท ระบบจะรับสายอัตโนมัติ มีเสียงแจ้งแผนกที่ต้องการติดต่อ พร้อมกระจายสายไปยังเจ้าหน้าที่ที่ตอนนี้ทำงานที่บ้านกันเป็นส่วนใหญ่แล้ว โอนสายเพื่อส่งเรื่องต่อให้กับอีกแผนกนึงได้ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ที่สถานที่เดียวกัน นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งานของทีมคอลเซ็นเตอร์ได้อีกด้วย
iConnect PBX เป็นบริการของบริษัท Octagon Enterprise เป็นบริษัทคนไทย ติดตั้งง่าย
B. ลูกค้าขอยกเลิกนัดประชุม เพราะกังวลเรื่องไวรัสโควิด แล้วจะขายของได้ยังไง?
สิ่งที่ธุรกิจเราควรทำก็คือ แจ้งลูกค้ากลับไปว่า เรายินดีเปลี่ยนมาใช้การประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Video Connference ซึ่งก็ทำให้ทีมขายกับลูกค้าสามารถคุยกันแบบเห็นหน้า นำเสนอสินค้า และสอนการใช้งาน ได้เหมือนเดิม
ซึ่งในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้ลูกค้าเองก็พร้อมที่จะปรับตัวเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายเครื่องมือที่ใช้ง่ายและราคาไม่สูงจะเกินไป
3. LINE Group Call
คนไทย 50 ล้านใช้ LINE ทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องติดตั้งใหม่ และเรียนรู้การใช้งานอะไรมาก เพราะทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ยิ่งถ้าเรามี Chat Group ที่คุยกับลูกค้าและทีมงานเราอยู่แล้ว ก็สามารถกดปุ่มเพื่อเริ่มการประชุมแบบ Group Call ได้เลย
จุดเด่น
- ฟรี!!
- เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก เพราะทุกคนแชทผ่าน LINE กันอยู่แล้ว
- สามารถกดเริ่ม Group Call เพื่อเรียกประชุมทุกคนในห้องแชทได้ทันที
- ใช้ง่าย เข้าใจง่าย ไม่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่ ทุกคนใช้ LINE เป็นอยู่แล้ว
- ทำเป็นวีดีโอคอลก็ได้ ถ้าคุยแบบ 1 ต่อ 1 คุณภาพดีใช้ได้เลย
- เหมาะสำหรับการคุยกันแบบเร่งด่วน ที่ไม่ต้องการฟีเจอร์พิเศษอะไร
จุดด้อย
- ฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับการประชุมนี่แทบไม่มีเลย ทำได้แค่คุยกันเฉยๆ
4. Google Meet (Google Hangout)
Google Hangout หรือ Google Meet ก็เป็นอีกเครื่องมือนึงที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยจำนวยผู้ใช้งาน Gmail ที่ครองส่วนแบ่งอันดับหนึ่งมายาวนาน ทำให้เราสามารถใช้ Google Account ที่มีอยู่แล้ว ใช้งาน Video Conference ได้ทันที
จุดเด่น
- ฟรี!!
- คุณภาพดี ใช้งานง่าย ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม คลิ๊กไม่กี่คลิ๊กก็ใช้ได้เลย
- แชร์หน้าจอได้ สามารถทำการนำเสนอเหมือนนั่งอยู่ในห้องประชุมด้วยกันได้เลย
- เสียงดี ชัดเจน ถ้าผู้เข้าร่วมประชุมเยอะๆ ควรปิดไมค์ทุกคนให้หมดให้เหลือเฉพาะคนที่พูดอยู่เท่านั้น
- ใช้งานผ่านมือถือ แท๊ปเล็ตได้
- ไม่จำกัดเวลา share screen
- มีระบบให้โทรเข้ามาฟังได้ โดยไม่ต้องใช้เน็ต
จุดด้อย
- ไม่มี function whiteboard แต่ก็สามารถใช้ร่วมกับ Google JamBoard ซึ่งเป็นเครื่องมือ Whiteboard ที่ทุกคนสามารถวาดพร้อมกันได้เลย แต่ก็ต้องลำบากเปิด 2 เครื่องมือพร้อมกันวุ่นวายอีกนิดหน่อย
5. Zoom
มาแรงแซงทุกคนในช่วงนี้ได้แก่ Zoom ผู้ให้บริการ Video Conference ที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐพุ่งขึ้นส่วนกระแสอยู่คนเดียว ในขณะที่คนอื่นราคาร่วงหมด โดย Zoom เป็นที่นิยมมากในหมู่สตาร์ทอัพและนักลงทุน ด้วยหน้าตาการใช้งานที่ง่ายและประสิทธิภาพสูง
ข้อดี
- คุณภาพดี ใช้งานง่าย ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม คลิ๊กไม่กี่คลิ๊กก็ใช้ได้เลย
- แชร์หน้าจอได้ สามารถทำการนำเสนอเหมือนนั่งอยู่ในห้องประชุมด้วยกันได้เลย
- เสียงดี ชัดเจน ถ้าผู้เข้าร่วมประชุมเยอะๆ ควรปิดไมค์ทุกคนให้หมดให้เหลือเฉพาะคนที่พูดอยู่เท่านั้น
- ใช้งานผ่านมือถือ แท๊ปเล็ตได้
- ไม่จำกัดเวลา share screen
- มีระบบให้โทรเข้ามาฟังได้ โดยไม่ต้องใช้เน็ต
- ฟรี!
ข้อด้อย
- เวอร์ชั่นฟรีใช้งานต่อเนื่องกันได้แค่ 40 นาที (ต้องออกจากการประชุมแล้วเริ่มใหม่)
ลองกันได้ที่ -> https://zoom.us/
ราคา (มีหลายแพคเกจให้เลือก)
ฟรี จนถึง 600 THB(หรือ 19.99 USD) /host/เดือน
6. Cisco WebEx
เป็นบริการระดับ Enterprise ที่โด่งดังมายาวนานก่อน Zoom (ซึ่งที่จริงแล้วผู้ก่อตั้งของ Zoom ก็คืออดีตผู้บริหารด้านเทคโนโลยีมือดีของ WebEx นี่เอง ตอนนี้ลาออกมาสร้าง Zoom มีลูกค้าลาออกตามมาด้วยหลายสิบคน ด้วยความเชื่อมันในฝีมือลูกพี่คนนี้ เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเร็วๆ นี้ ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า) เหมาะที่สุดสำหรับการประชุมที่คนเข้าเยอะๆ เสถียรที่สุดเมื่อใช้งานแบบหนักหน่วง และช่วงเปิดให้ใช้ฟรีในช่วงสถานการ์โควิทด้วย ขอบคุณ Cisco มา ณ ที่นี้
ข้อดี
- ถ้าประชุมแบบคนเยอะระดับร้อยคนต้อง WebEx เท่านั้น มีความเสถียรที่สูงเหมาะกับการใช้งานแบบคนเยอะพร้อมระบบควบคุมการประชุมจากประธานที่ประชุม
- รองรับการใช้ระบบโทรศัพท์ในการคุยด้วยเสียงแทนที่จะผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้ตัดปัญหาเรื่องความไม่เสถียรของระบบเครือข่ายและแต่ละผู้เข้าร่วมประชุมไปได้เลย
- ตอนนี้ Cisco Webex เปิดให้ใช้งานฟรี เป็นตัวช่วยสำหรับการประชุม online สำหรับภาวะนี้ที่อาจจะต้อง work from home กันมากขึ้น
- ประชุม online พร้อมกันได้ 100 คน เห็นหน้ากัน
- Share screen กัน ผ่าน Device ได้หลากหลายทั้ง PC, Mobile Devices รวม
- สามารถ Record meeting ได้ด้วย
ข้อด้อย
- อินเทอร์เฟสเข้าใจยากหน่อย เมื่อเทียบกับ Zoom และ Google Meet แต่ก็ไม่ถึงกับยากมาก เรียนรู้นิดหน่อยก็ใช้เป็น
ราคา (มีหลาย Package ให้เลือก)
ฟรี จนถึง 808.5 THB(หรือ 26.95 USD)ต่อ host ต่อเดือน
เข้าไป register ได้ที่ https://www.webex.com/video-conferencing และดู video สอนการ register free personal account ตามด้านล่างได้เลย ง่ายมากกก 🙂
++ From Suthichai Live ++
EP1: Workplace transformation ออฟฟิศยุค Gen-M สำหรับคนรุ่นใหม่ https://youtu.be/zGFnfZxNvRU
EP2: Collaboration Technology กับ บริบททางด้านต่างๆในปัจจุบัน https://youtu.be/Z7TyosuxBak
7. Discord
Discord มาซึ่งเป็นโปรแกรมที่ชาวเกมเมอร์ใช้คุยกันตอนเล่นเกมส์ อันนี้ทีม Developer สายเกมส์มักจะชอบกัน หน้าตาคล้าย Slack
ข้อดี
- ฟรี !!
- ถ้าใช้คุ้นเคยกับ Slack ก็คงจะชอบตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะการใช้งานคล้ายกัน
- ประชุมกันผ่านเสียงได้ คุณภาพใช้ได้
ข้อด้อย
- ใช้ยากมากสำหรับคนไม่เคยใช้มาก่อน ตอนนี้ลองใช้ครั้งแรกต้องใช้เวลาศึกษาพอสมควรกว่าใช้งานแต่ละฟีเจอร์เป็น
C. เมื่อเราไม่ได้ประชุมทีมขาย แล้วจะบริหารงานขายได้ยังไง?
โจทย์นี้ก็จะมีโปรแกรมบริหารงานขายหรือที่เรียกันว่า Sales CRM มาช่วยจัดการให้ ช่วยให้บริหารงานขายแบบออนไลน์ได้ โดยเฉพาะธุรกิจ Business-to-Business (B2B) ที่ช่องทางหลักคือทีม Direct Sales ที่ขายสินค้าให้กับลูกค้าเก่าที่ซื้อซ้ำ
ซึ่ง 90% ของธุรกิจไทยยังคงใช้โปรแกรม Excel Spreadsheet ในการบริหารงานขาย ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานแบบออนไลน์ ซึ่งมีความจำเป็นในสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่ทีมขายกระจายอยู่ทั่วประเทศ เราไม่สามารถเรียกประชุมทีมขายเพื่ออัพเดทงานกันได้อีกต่อไป
โปรแกรมตระกูลบริหารงานขายสำแบบออนไลน์ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับธุรกิจไทย แต่ก็ถือเป็นโอกาสดีที่ธุรกิจไทยจะได้ปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารงานขาย ซึ่งเราขอแนะนำทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่
8. Wisible
ตัวแรก Wisible Sales Intelligence Platform ซึ่งต้องขออนุญาตออกตัวว่าเรามีอคติแน่นอนเพราะคือโปรแกรมของเราเอง 😀 ซึ่งพัฒนาโดยทีมงานชาวไทย 100% ทำให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของธุรกิจไทยเป็นอย่างดี เช่น เราทราบดีว่าคนไทยชอบคุยงานผ่าน LINE จึงได้สร้างระบบในสามารถทำงานผ่าน LINE ได้อย่างสมบูรณ์ เชื่อมต่อกับช่องทางสื่อสารที่ธุรกิจไทยชอบใช้เช่น LINE OA, Facebook Page ได้ (ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นตลาด Social Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีประเทศไหนใหญ่กว่าไทยอีกแล้ว สรุปคือคนไทยชอบคุยงาน ซื้อของออนไลน์นั่นเอง และไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจ B2B) และเชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชีของไทยได้ทำให้สามารถติดตามงานขายของธุรกิจได้ตั้งแต่ต้นน้ำ (เก็บลีดที่เข้ามาใหม่) ไปจนถึงปลายน้ำ (ปิดการขาย ส่งใบแจ้งหนี้ เก็บเงิน และบันทีกบัญชี)
ข้อดี
- บริหารงานขายได้จากทุกที่
- เห็นภาพรวมงานขายให้หน้าเดียวแบบเรียลไทม์
- รู้ทุกความเคลื่อนไหวของทุกดีลโดยไม่ต้องประชุมทีมขาย
- เก็บทุกลีดจากทุกช่องทางออนไลน์อัตโนมัติ เช่น LINE OA, Facebook Page, Website ทำให้ไม่พลาดโอกาสธุรกิจ ในสภาวะที่ช่องทางออฟไลน์์หยุดชะงัก
- ทำงานผ่าน LINE ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งสร้างดีลใหม่ เก็บแชท มอบหมายงาน
- แจ้งเตือนทุกอย่างสำคัญผ่าน LINE เช่น ดีลเปิดใหม่ ปิดการขายแล้ว รับชำระเงินแล้ว อยู่บ้านก็รู้ทุกอัพเดทของธุรกิจ
- เห็นรายงานการขายแบบเรียลไทม์
- ช่วยติดตามการชำระเงิน ไม่พลาดเรื่องบริหารเงินสด
- เชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชีชั้นนำได้
ข้อด้อย
- ถ้า Salesforce หรือ Zoho มี 1,000 ฟีเจอร์ Wisible จะมีเพียง 200 ฟีเจอร์เท่านั้น (แต่จะมี 30 ฟีเจอร์ ที่ไม่มีใครมี และเป็นที่เหมาะกับธุรกิจไทย)
หากสนใจศึกษา Wisible อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่
9. Zoho CRM
โปรแกรมบริการงานขายจากประเทศอินเดีย ที่มีฟีเจอร์ครบครัน ตั้งแต่ งานขาย การตลาด และการบริการ ระบบบริหารจัดการโครงการ ระบบการเงิน บัญชี และ ทรัพยากรบุคคล สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้
สามารถทำใบเสนอราคา เปิดใบสั่งซื้อได้ ออกใบแจ้งหนี้ ผ่านระบบ เรียกว่าเป็น Mini ERP ได้เลยทีเดียว ทั้งยังสามารถเชื่อมข้อมูลไปยัง Social Media ต่างๆ ได้อีกด้วย
ข้อดี
- รายไม่แพง
- ฟีเจอร์ครบครัน
ข้อด้อย
- ชื่อเมนู ชื่อเรียกต่างๆ ในระบบ จะดูเข้าใจยากหน่อย
- ระบบค่อนข้างซับซ้อน ด้วยความที่มีฟีเจอร์เยอะ
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
เริ่มต้นที่ 360 THB (12 USD) จนถึง 3,000 THB (100 USD)
10. Salesforce
ผู้ให้บริการ Sales CRM อันดับหนึ่งของโลกจากสหรัฐอเมริกา มีฟีเจอร์เยอะที่สุด ครบครันที่สุด แต่ราคาก็สูงที่สุดเช่นเดียวกัน เหมาะกับบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการปรับแต่งระบบให้ตรงกับความต้องการเฉพาะธุรกิจได้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มตามความซับซ้อนของความต้องการ
Salesforce.com ถึงแม้จะชื่อขึ้นต้นด้วย Sales แต่ยังสามารถให้บริการในส่วนของการตลาด และงานบริการได้ด้วย แถมยังมีบริษัทในเครือที่สามารถเชื่อมระบบกันได้เต็มไปหมด เช่น Tableu โปรแกรมด้าน Business Intelligence ที่ Salesfoce เพิ่งซื้อกิจการไป
ข้อดี
- ฟีเจอร์ครบครัน ตั้งแต่ระบบงานขาย การตลาด งานบริการ
- แบรนด์มีชื่อเสียง เป็นที่น่าเชื่อถือ
ข้อด้อย
- ราคาสูง
- การใช้งานมีความซับซ้อน ด้วยฟีเจอร์ที่มีปริมาณมาก
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
เริ่มต้นที่ 750 THB (25 USD)/ผู้ใช้/เดือน จนถึง 9,000 THB (300 USD) /ผู้ใช้/เดือน (เก็บรายปี
D. Social Media Management / Email Lead Capturing เก็บลีดใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์
Social Media Chat Bot
ลองนึกง่ายๆ ถ้ามีคนนึงต้องการสินค้าบางอย่าง ทักไปตอนดึกๆ ทักไป สี่เจ้า ไม่มีเจ้าไหนตอบเลย ถ้ามีเจ้านึงตอบรายละเอียดได้ เจ้านั้นจะเป็นคนที่ปิดการขายได้ เพราะยุคนี้เป็นยุคของความเร็ว
11. AIYA
แชทบอทสัญชาติไทย ที่เข้าใจพฤติกรรมของคนไทยเป็นอย่างดี ที่ช่วยตอบคำถามเรื่องรายละเอียดสินค้า และผู้ช่วยตอบคำถามซ้ำๆ ซึ่งแชทบอทจะสามารถช่วยงานของฝั่ง Support, Marketing และ Sales ได้เป็นอย่างดี นอกจากจะช่วยตอบคอมเม้น ยังสามารถช่วยเก็บลีดเหล่านั่น เชื่อมไปยัง inbox เพื่อให้ทีมขายปิดการขายได้อย่างง่ายขึ้น
ข้อดี
- เชื่อมต่อได้กับทั้ง Facebook Page และ LINE ซึ่งคนไทยใช้เยอะที่สุด
- สามารถตอบแชททั้ง Facebook และ LINE ได้ในหน้าเดียวไม่ต้องสลับไปมา ทำให้จัดการลีดที่เข้าทาง Social Media ได้ในที่เดียว
- เชื่อมต่อระบบกับ Sales CRM ได้ ติดตามลีดได้ต่อเนื่องจนปิดการขาย
- ตัววัด conversion rate
- รองรับภาษาไทย ซึ่งเหมาะมากๆ
- Learning และประมวลผลภาษาไทยได้ ถ้าเป็นจากต่างประเทศจะทำได้ไม่เก่งเท่า
- มีระบบสอน Chatbot ให้กับผู้ประกอบการ สามารถป้อนข้อมูลให้กับแชทบอทได้ง่าย
ข้อด้อย
- ยังเชื่อมกับ Instagram ไม่ได้ (แต่ได้ข่าวกำลังซุ่มทำอยู่)
Email Marketing
12. Taximail
“อีเมล์ มาร์เก็ตติ้ง” คือการทำตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางอีเมล์ ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่เริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครื่องมือที่มีความโดดเด่นกว่าสื่ออื่นๆ ที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน รวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายต่ำ และสามารถวัดผลได้ทันที โดยจากรายงานของ VentureBeat (US) ได้เปรียบเทียบอี-เมล์, โทรทัศน์, วิทยุ, Banner Ads และ Paid Search พบว่าอี-เมล์มีค่าการวัดผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ Return On Invetment (ROI) สูงที่สุด โดยทุก 1 เหรียญสหรัฐฯ สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 38 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 38 เท่า!!
ตอนนี้เปิด Free plan ให้ใช้ได้แล้ว ส่งรายเดือนไม่เยอะ มาเอาไปใช้แบบฟรีๆได้เลยที่ https://www.taximail.com มี Tools ช่วยทำ Email ให้ดึงดูดมากขึ้น
ข้อดี
- ระบบส่งออกขนาดใหญ่ที่รองรับความเร็วในการส่งออกสูงที่สุดในประเทศไทยถึง 40 ล้านฉบับต่อชั่วโมง
- สามารถช่วยวัดค่าสแปมของอีเมล์ก่อนส่งออกไป ทำให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและช่วยวิเคราะห์ผลการตอบรับของผู้บริโภค
- ตรวจสอบผลแบบเรียลไทม์
- มีฐานลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่เช่น เมืองไทยประกันชีวิต, การบินไทย และ คิง พาวเวอร์
ข้อด้อย
- ไม่มีระบบ Sequential Email ที่สามารถยิงอีเมลเป็นซีรีย์ตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ได้
ราคา (มีหลายแพคเกจให้เลือก)
ฟรี จนถึง 560 บาท ต่อเดือน
E. ในสถานการณ์โควิทเราก็ยังต้องทำบัญชี
คำนวนภาษี จัดการเอกสารต่างๆ ถ้าเข้าออฟฟิศไปทำไม่ได้ แล้วจะทำบัญชีอย่างไร
13. Peak Account
PEAK ให้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทำให้คุณติดตามข้อมูลธุรกิจได้ในแบบทันที ช่วยให้คุณสามารถจัดการบริหารบัญชีของคุณจากทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ พร้อมกับระบบการบริการบัญชี ภาษี ปิดงบ แบบครบวงจร จากพันธมิตรสำนักงานบัญชี และนักบัญชีอิสระมืออาชีพ
ข้อดี
- บริการบัญชี ครบวงจรที่ช่วยให้โฟกัสกับธุรกิจ
- ช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
- ฟีเจอร์เรื่องจัดการเอกสารทางบัญชีมีครบ ทั้งใบแจ้งหนี้ออนไลน์ รองรับใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิก
- ตรวจสอบงบการเงินของคุณอย่างละเอียด
- กระทบยอดบัญชีธนาคาร ช่วยจับคู่รายการที่บันทึกบัญชีไว้และรายการที่เกิดขึ้นจริง ในรายงานการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคาร (Bank Statement) อย่างอัตโนมัติ
- ระบบการเรียกเก็บเงินผ่าน QR โดยที่คุณจะได้รับการยืนยันโดยอัตโนมัติจากในระบบ และบันทึกบัญชีให้ทันที
- รายงานสำคัญทางธุรกิจ ดูยอดขาย, ค่าใช้จ่าย, กำไร รายสัปดาห์/รายเดือน พร้อมติดตามรายงานการเคลื่อนไหวของสินค้า/ลูกหนี้/เจ้าหนี้ พร้อมแสดงหนี้รอเรียกเก็บ, หนี้เกินกำหนด
ข้อด้อย
- การระทบยอดบัญชีธนาคารยังจำกัดอยู่ที่ธนาคารเดียวเท่านั้นคือ CIMB
ราคา: ฟรี จนถึง 700 บาท/เดือน
Peak Account
ใช้งานง่ายเหมาะกับธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ด้วยฐานผู้ใช้งานกว่า 6,000 ราย ทำให้สามารถจัดการงานบัญชีได้จากทุกที่ทุกเวลา
F. เข้าออฟฟิศไม่ได้แล้วเราจะเซ็นเอกสารต่างๆ ยังไง
14. Adobe Sign
ด้วยความที่คนส่วนใหญ่ใช้โปรแกรม Adobe Acrobat ในการทำเอกสารอยู่แล้ว ทำให้สามารถต่อยอดไปใช้งานเรื่องการเซ็นเอกสาร พร้อมด้วยระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกที่ช่วยจัดการเรื่องความปลอดภัยละความถูกต้องของข้อมูล ในต่างประเทศเรามักไม่เห็นการลงนามด้วยปากกากันอีกแล้ว เมื่อมีการทำธุรกรรมใดๆ ถึงแม้จะเป็นมูลค่าระดับหลายสิบล้านบาทก็จะดำเนินการผ่านระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกทั้งหมด แถมกฎหมายไทยก็รองรับเรื่องนี้มานานมากแล้ว แต่การใช้งานก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะปฏิวัติการทำงานด้วยระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิก
ข้อดี
- ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้งานโปรแกรม Adobe Acrobat ในการสร้างเอกสารอยู่แล้ว
- ใส่ตราประทับได้ ใส่ลายน้ำได้
- มีระบบปลอดภัยเพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องของข้อมูล
- แบรนด์ Adobe เป็นที่ยอมรับและมีความน่าเชื่อถือ
- สามารถส่งขอให้คู่สัญญาหรือคนอื่นในบริษัทเราเองลงนามได้ด้วยการส่งอีเมลไปให้ เปิดมือถือเสร็จแล้วลงนามด้วยการเซ็นบนมือถือได้เลย
ข้อด้อย
- อาจพบกรณีที่คู่สัญญาไม่ยอมรับระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกถึงแม้กฎหมายไทยจะรองรับ และร้องขอให้ลงนามบนกระดาษด้วยปากกาเหมือนเดิม
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
เริ่มต้นที่ 240 THB (8 USD)/user/month จนถึง 1,500 THB (50 USD)/user/month
15. Creden
เป็นบริษัทคนไทย ที่ให้บริการชื่อว่า Creden eSignature ช่วยจัดการเรื่องเซ็นเอกสารด้วยระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิก
ข้อดี
- เป็นบริษัทไทย เข้าใจการใช้งานแบบไทยได้ดี
- เอกสารที่เซ็นผ่าน Creden eSignature สามารถใช้รับรองทางกฏหมายได้ เพราะเอกสารที่เซ็นมีการยืนยันกับภาครัฐทุกเอกสาร โดยร่วมกับ ETDA ในการยืนยันในการทำ Time Stamp ที่ ETDA
- เอกสารถูกจัดเก็บบน Blockchain ด้วย เป็นการป้องกันอีกชั้นว่าข้อมูลไม่ได้ถูกแก้ไข
- มีระบบยืนยันตัวตน (eKYC) ที่ระบุตัวตนคู่กับบัตรประชาชน ทำให้มั่นใจแน่นอนว่าคนที่
- ดู Video การใช้งานได้ที่นี่ https://youtu.be/odL_S98xY8w
ราคา
ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
G. Work From Home กันทุกคน แต่โครงการก็ยังต้องบริหาร สามารถทำได้ด้วย Project Management Tool
16. Trello
เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยให้คุณจัดสรรและแบ่งงานกับทุกคนในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดวางอย่างเรียบง่าย ใช้งานที่สะดวกสบายและสามารถใช้แบบเรียลไทม์ได้หลายคน โดยคุณสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้ไว้ในโทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ได้ครับ
ข้อดี
- ทำงานรวดเร็วมาก หน้าตาใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้นาน
- แสดงผลหลักด้วย Kanban Board ทำให้เห็นภาพรวมของงานชัดในหน้ากระดานเดียว
- ทำงานผ่านมือถือได้อย่างสมบูรณ์
- สามารถสั่งงาน หรือ มอบหมายงานให้แต่ละคนทำได้ในแต่ละวัน
- บริหารจัดการงานที่มีปริมาณมากๆได้อย่างเป็นระบบ
- สามารถแชร์ปฏิทินของทีมหลายคนได้
- มอบหมายงานของส่วนรวมและงานของบุคคล
- เสนอความคิดเห็น, ถาม-ตอบ และแสดงความคิดเห็นต่องานที่ได้รับได้
- ติดตามผลการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อด้อย
- มีฟีเจอร์เยอะมาก และเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้เยอะมาก จนงง
17. Taskworld
Taskworld คือแอปพลิเคชันบริหารจัดการงานออนไลน์ แบบ cloud-based ที่มาพร้อมกับระบบแชทภายในองค์กร ตอบโจทย์การทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพ สร้างโปรเจค (Project) และทาส์ก (Task) บนพื้นที่ที่คุณสามารถเห็นภาพรวมการทำงานทั้งหมด ทำให้คุณบริหารจัดการงานได้ในแบบของคุณเอง สามารถติดตามงานอัพเดตงานได้แบบ Real time ทันทีทันใด
ข้อดี
- สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ไทย ทีมงานส่วนใหญ่เป็นคนไทย ติดต่อได้ง่าย
- ช่วยให้คุณติดตามงานได้อย่างง่ายดาย
- บริหารจัดการงานอย่างมืออาชีพ
- ระบบแชทที่โต้ตอบอย่างรวดเร็ว
- วิเคราะห์ ติดตามภาพรวมของงานแบบ Real time ได้ทุกที่ทุกเวลา
- สมาชิกสามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับงาน
- รวบรวมการสื่อสาร การจัดการโปรเจคไว้ในที่เดียว
ราคา
330 THB (11 USD) /เดือน/1 workspace ไม่จำกัดจำนวนสมาชิก
H. การแชร์ไฟล์ที่ต้องใช้ในการทำงานร่วมกัน ในขณะที่ทุกคนอยู่คนละที่ ใช้คนละอุปกรณ์จะจัดการอย่างไรดี
การจัดการเอกสารระหว่างทำงานที่บ้านที่ต้องช่วยกันทำหลายคน ก็จัดการยังไงดี
18. Google Drive
แอฟพลิเคชั่นช่วยเก็บไฟล์ขึ้นบน Cloud และแชร์ไฟล์ ซึ่งหลายๆคนน่าจะเคยใช้กันอยู่แล้ว
ข้อดี
- มีแพคเกจฟรีให้คนทั่วไปใช้ได้
- UX/UI ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย
- แชร์ไฟล์ได้ทุกรูปแบบ
ข้อด้อย
- ในช่วงที่มีการอัพเดทไฟล์ใหม่เยอะ โปรแกรมจะกินทรัพยากรสูงมาก ทำให้เครื่องทำงานช้าลง
- เจอกรณีที่ไฟล์ไม่ซิงค์บ้างเป็นบางครั้ง ทำให้บางอุปกรณ์หาไฟล์ในแชร์โฟลเดอร์ไม่พบ
19. Google Doc, Sheet, Slide
การทำเอกสารร่วมกัน ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนใช้โปรแกรมเหล่านี้แล้ว แต่ถ้ายังก็แนะนำครับ ที่ออฟฟิศผมใช้ Google Suite พวก Google Doc, Sheet, Slide ต่าง ๆ แต่ถ้าคุณถนัดตระกูล Microsoft Office ก็ใช้ Microsoft Office 360 ได้เลยครับ
ข้อดี
- ถ้าเป็นเรื่อง Email คือดีที่สุด เพราะมันคือ Gmail
- มี Google drive ไว้แชร์ไฟล์
- ทำงานด้วย Google Docs / Sheet / Slide
- ประชุมด้วย Hangout Meets
- เรื่องเร็วไม่ต้องห่วงเลย เร็วมาก ภาพชัด เสียงดี
ข้อด้อย
- ถ้าใช้ทำงานที่ซับซ้อนมากเช่น Spreadsheet ที่ต้องคำนวนสูตรข้าม Worksheet เยอะที่เปิดแทบไม่ขึ้น ต้องถอยไปใช้ Excel แทน
- ฟังก์ชั่นที่ใช้บางอย่างยังไม่ดีเท่าที่ใช้ใน Microsoft Office เช่น Font ต้องใช้เท่าที่มีจาก Google Font เท่านั้น
- ย้ายลงไฟล์ Microsoft Office แล้ว format จะเพี้ยน
- ต้องบริหารกันดีดีไม่งั้นอาจจะมีคนแก้หรือลบข้อมูลผิด แต่ก็สามารถกดถอยเวอร์ชั่นเพื่อดึงสิ่งที่ถูกแก้ไปกลับมาได้
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
เริ่มต้นที่ 126 THB(4.2 USD)/ผู้ใช้/เดือน จนถึง 750 THB(25 USD)/ผู้ใช้/เดือน
I. การสื่อสารแบบเรียลไทม์ ที่ต้องการคำตอบแบบฉับไว้ โดยสถานการณ์ที่เราไม่สามารถเดินไปเรียกคุยได้เหมือนเดิม เราจะทำอย่างไรดี
20. LINE
ถ้าปกติใช้ LINE คุยกันอยู่แล้ว และถนัด ก็ใช้ได้เลยครับ และ LINE สำหรับ PC และ Mac รุ่นล่าสุดสามารถแชร์หน้าจอคอมพิวเตอร์เวลาทำ Video Call ได้แล้ว เหมาะสำหรับการทำงาน Work from Home มากๆ
ข้อดี
- สำหรับคนที่ Work from home ลองประชุมงานผ่านวิดีโอด้วยฟังก์ชันแชร์หน้าจอบน LINE สำหรับ PC กัน
- คลิกที่ไอคอนแชร์หน้าจอตรงมุมซ้ายล่างของหน้าวิดีโอคอลแบบกลุ่มแล้วเลือกหน้าจอที่ต้องการแชร์
- เมื่อคลิกที่ไอคอนแชร์หน้าจออีกครั้งในระหว่างที่กำลังแชร์หน้าจอจะเป็นการหยุดแชร์หน้าจอ
- ใช้งานพร้อมกันได้สูงสุดถึง 200 คน
ข้อด้อย
- คุณภาพการประชุมจะเริ่มปัญหาเมื่อมีผู้เข้าร่วมหลายคนพร้อมกัน
- ไฟล์ภาพที่แชร์ระหว่างกันถูกบีบอัด และหมดอายุเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
21. Slack
Tools นี้น่าสนใจเลยนะ เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้ทังองค์กร, แบ่งห้อง แบ่ง Department ไว้คุยได้ (เค้าเคลมว่าใช้แทน email ไดเ้ลย)
ข้อดี
- ที่เจ๋งคือสามารถ Integrate กับ Tools & App อื่นๆ ได้เพียบเลยครับ เพราะต้องยอมรับว่าการทำงานเราใช้ App ต่างๆ ร่วมด้วยมากมายเช่น Google App, Dropbox, Trello และอีกมากมายจริงๆ
- สมัครตอนนี้ได้ ~3,000 THB ฟรีด้วย
- สามารถเชื่อมต่อกับแอพอื่นได้เยอะมากๆ เช่น Typeform, Google sheet, Twitter mention และอีกเป็นพัน feature ที่เชื่อมได้
- การไม่บีบอัดรูปภาพที่ส่งไป และการเก็บรูปภาพไว้ไม่หาย
ข้อด้อย
- พบบางกรณีที่ไม่แจ้งเตือนผ่านมือถือทำให้พลาดข้อความสำคัญ
ราคา: 200 THB (6.67 USD) /ผู้ใช้งาน/เดือน จนถึง ราคา Enterprise ซึ่งต้องติดต่อไปถามเองครับ
22. Microsoft Team
Microsoft Teams – โปแกรมที่เหมาะกับงานระดับองค์กร มีฟีเจอร์ที่ทำงานร่วมกับ Microsoft Office 365 ได้ด้วย สามารถ แชท แชร์หน้าจอ แชร์เอกสาร รวมถึงส่งเชิญประชุมผ่านอีเมล หรือ ปฎิทินตารางนัดหมายได้ ซึ่งรองรับการ vdo conference ได้สูงสุดถึง 250 คน และสามารถบันทึกการประชุมเป็น VDO ได้ด้วย
ตัวฟรีดีมาก เครื่องมือครบ ถ้าใช้ร่วมกับ Office365 ด้วย ยิ่งทรงพลังมาก ในประเทศไทย
ข้อดี
- มี Office App ที่สามารถทำงานได้ทั้ง Windows และ Mac OS
- มี Skype ไว้ประชุมวีดีโอออนไลน์ได้ แอปพลิเคชั่นที่สามารถแชทคุยกับแบบส่วนตัว หรือ แบบกลุ่มได้ รวมถึงสามารถ VDO Conference หรือ VDO Call แบบส่วนตัวก็ได้ ช่วยให้การสื่อสารในทีมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สามารถเข้าไปช่วยกันทำงานและแก้ไฟล์เดียวกัน คล้ายๆกับ ตระกูล Google file แต่ไม่เรียลไทม์เท่า
- เชื่อมต่อกับแอพอื่นๆได้มากมาย
ข้อด้อย
- Server ช้าอืดๆ
- UX/UI ใช้ยากมาก
- ถ้าจะ chat กับใคร ต้อง invite ด้วย email หรือไม่ก็ใช้ command line ช่วยเอา
- การใช้งานโดยรวมซับซ้อนระดับนึงเลย
- พวก Outlook, Calendar, MS Teams, Yammer, Sharepoint และ OneDrive ก็ชอบมากกว่า
- หลังๆ Microsoft มี speed ในการพัฒนา software เจาะตลาดกลุ่ม SMB ไวมากๆ แต่การตลาดยังไม่แข็งแรงเหมือนอย่าง Google
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
ฟรี จนถึง 600 บาท/ผู้ใช้/เดือน
23. Workplace by Facebook
โปรแกรมพูดคุยสื่อสารภายในองค์กร ที่ผลิตจาก Facebook หน้าตาการใช้งานเหมือน Facebook เลย แต่จะแยกตัวโปรแกรมออกจาก Facebook account ส่วนตัวโดยสิ้นเชิง และไม่มีการแทรกโฆษณาลงไปด้วย
ข้อดี
- ใช้ง่าย คนไทยใช้ Facebook กันเป็นอยู่แล้ว ไม่ต้องสอนเยอะ แต่มันเน้นเรื่องสื่อสารอย่างเดียว มี Feed + Chat ให้
- ใน Feed สามารถ Post / Comment / Poll / ใส่รูปอะไรได้ปกติเลย ตามงาน tag ด้วยชื่อคนได้หมด
- ราคาไม่แพง
ข้อด้อย
- ไม่มี Email + Office Tools เลย
- ยังไม่สามารถเชื่อมกับเครื่องมืออื่นๆได้
ราคา (มีหลายแพคเกจ)
ฟรี จนถึง 240 บาท/ผู้ใช้/เดือน
ติดตามข่าวสารและสาระดีๆเกี่ยวกับระบบ CRM Platform ได้ที่นี่