ปิดช่องโหว่ เปิดโอกาสเติบโตในธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ด้วย Customer Relationship Management
Riki Kimura
Digital Marketing Executive at Wisible
ทุกคนทราบกันดีว่า “การเริ่มต้นทำอะไรใหม่สักอย่างมักลำบากเสมอ” โดยเฉพาะการทำธุรกิจ ต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์นานหลายปี ผ่านอุปสรรคมากมาย กว่าจะสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรและประสบผลสำเร็จมีฐานลูกค้าที่เชื่อมั่นต่อธุรกิจของเรา
ยิ่งธุรกิจที่มีความซับซ้อนตั้งแต่กระบวนบริหารต้นทุนไปจนถึงปิดการขาย อย่างธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่มีปัจจัยมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนการผลิตสูง, งบประมาณจำกัด, การ Deal กับผู้ประกอบการอื่น ๆ หรือทำใบเสนอราคาที่มีความยุ่งยาก เป็นต้น ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เต็มไปด้วยช่องโหว่ เปรียบเสมือนการปีนเทือกเขาแอลป์ที่สูงชัน พร้อมกระเป๋าสะพายหลังใบใหญ่กับความคาดหวังที่จะขึ้นไปอยู่จุดสูงสุด ท่ามกลางมรสุมรอบด้านและคู่แข่งคนอื่น ๆ ปีนป่ายอยู่ข้าง ๆ จนเราเริ่มถอดใจไม่ปีนต่อ
มรสุมที่ว่านี้ก็เหมือนช่องโหว่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่ยากจะทำให้คุณประสบผลสำเร็จได้ แต่อย่างเพิ่งถอดใจไปง่าย ๆ เพราะทุกช่องโหว่มีทางอุดได้เสมอกับ Customer Relationship Management ที่จะช่วยเปิดโอกาสให้องค์กรของคุณเติบโตในธุรกิจได้ก้าวกระโดด จะเป็นอย่างไร มาพบคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้
5 ช่องโหว่ของธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่ทุกคนต้องเผชิญ
จากที่กล่าวไปข้างต้น ถึงช่องโหว่ของปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไปบ้างแล้ว แต่นั้นเป็นบางส่วนเท่านั้น จากประสบการณ์ของเราที่ได้สัมผัสโดยตรงจากลูกค้าอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มาหลากหลาย ทำให้เราทราบถึงช่องโหว่ที่ลูกค้าหลายท่านเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับ 5 ช่องโหว่ ได้แก่
1. ช่องโหว่การบริหารองค์กรและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน
สิ่งสำคัญที่หลายองค์กรอาจจะมองข้ามไป จนเกิดเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่โดยไม่รู้ตัวกับการสร้างวิสัยทัศน์ที่ดีให้กับคนในองค์กรและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น เขียน KPI, การตั้งเป้าหมายยอดขายที่ชัดเจน, วิเคราะห์แนวโน้มสินค้าขายดี, เขียนรายงานเกี่ยวกับสินค้า เช่น การซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์, การสต็อกสินค้า เพื่อให้คนภายในองค์กรมองเห็นทิศทางการทำงานว่าควรโฟกัสไปที่จุดไหนบ้าง เพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : KPI คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อองค์กรธุรกิจ
2. ช่องโหว่กำไรน้อย ถ้าตัดสินใจพลาดขาดทุนได้ง่าย ๆ
อย่างที่หลายคนรู้กันดีว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์นั้นเป็นธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่า กำไรน้อยมาก ๆ Margin Of Error ต่ำ สวนทางกับขั้นตอนการผลิตและต้นทุนของสารเคมี ซึ่งสารเคมีบางประเภทก็มีข้อจำกัดของปริมาณที่สามารถมีไว้ครอบครองได้ ทำให้ต้องวางกลยุทธ์ทุกขั้นตอนอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะหากมองข้ามจุดไหนไป อาจนำไปสู่การขาดทุนได้ง่าย ๆ ดังนั้น เราจำเป็นต้องคอยติดตามทุกกระบวนการ ตั้งแต่เปิดการขาย -> ใบเสนอราคา -> ปิดการขาย -> การจัดส่งสินค้า -> การชำระเงิน -> ลูกค้าได้รับสินค้าถูกต้องและครบถ้วน
3. ช่องโหว่ราคาต้นทุนสินค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์นั้นต้องบอกว่าเป็นธุรกิจที่มีความแตกต่างจากประเภทธุรกิจอื่น ๆ อย่างชัดเจน ทั้งมีสารผลิตสินค้าที่แตกต่างจากธุรกิจอื่นและกระบวนการผลิตจะมีความซับซ้อน รวมไปถึงสารเคมีบางประเภทจะมีต้นทุนสูง ซึ่งทุกเดือนต้นทุนสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ ด้วยเหตุนี้การวางแผนสต็อกสินค้า การคำนวณต้นทุนที่ต้องจ่ายต้องมีความแม่นยำ หากซื้อตอนที่ราคาสูงก็อาจนำไปสู่ข้อเสียเปรียบกับคู่แข่งรายอื่นได้
ดังนั้น ควรวิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ดึงดูดความสนใจของลูกค้า โดยเฉพาะการทำ Sale Force Automation จะช่วยติดตามลูกค้าประจำและคำนวณความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
4. ช่องโหว่ฐานลูกค้า
การทำธุรกิจสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้ 75% มักมาจากลูกค้าเก่าที่มีการกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ หากเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ภาษาธุรกิจเรียกว่า ลูกค้าไซซ์ M, ลูกค้าไซซ์ L แน่นอนว่า Sales ของแต่ละบริษัทไม่มีทางที่จะพลาดการติดตามและอัปเดตข้อมูลให้แก่ลูกค้ารายใหญ่อยู่เสมอ จนบางครั้งมองข้ามลูกค้ารายเล็ก ๆ อย่างลูกค้าไซซ์ S ไป ทำให้ไม่มียอดขายจากลูกค้าใหม่เกิดขึ้น หากเดือนไหนลูกค้ารายใหญ่ตัดสินใจไม่ซื้อสินค้ากับบริษัทของคุณ ยอดขายที่ตั้งเป้าเอาไว้อาจไม่ถึง
ดังนั้น ควรแบ่งประเภทของลูกค้าออกมาอย่างชัดเจน และแบ่งทีมงานดูแลลูกค้า Work Flow Automation เพื่อติดตามลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : วิธีใช้ Sales Pipeline เพิ่มยอดขายแบบ Step by Step
5. ช่องโหว่เก็บข้อมูลของลูกค้าหลังปิดการขาย
หลายครั้งที่ปิดการขายกับลูกค้า เรามักจะคิดว่างานจบเพียงเท่านี้แล้ว ทำให้พลาดโอกาสในการพูดคุยสอบถามลูกค้าถึงความต้องการในครั้งถัดไป ทำให้การทำใบเสนอราคาในครั้งถัดไป เราอิงตามฐานข้อมูลเดิม ซึ่งในเดือนนั้นลูกค้าอาจจะเพิ่มสต็อกหรือลดสต็อกสินค้าก็ได้ ทำให้เสียเวลาไปกับการตามเก็บเงินให้ครบถ้วน ซึ่งเงินมักไม่ตรงกับ Signed Quote
ดังนั้น องค์กรควรเพิ่มบริการหลังปิดการขายเข้ามา คอยติดตามการขนส่งสินค้า และการชำระเงินของลูกค้า Delivery Module เพื่อสร้างบทสนทนาในการเก็บข้อมูลของลูกค้า ซึ่งระบบนี้จะช่วยแยกย่อยรายละเอียดต่าง ๆ ออกมา เพื่อติดตามการส่งของสินค้าแต่ละครั้ง และชำระเงินหลายงวดได้ หากราคาหรือจำนวนสินค้าไม่ตรงกับใบเสนอราคาก็สามารถแทร็กข้อมูลได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งฟังก์ชัน Delivery Module นี้ เป็นฟังก์ชันเฉพาะของ Wisible เจ้าแรกเจ้าเดียวที่สามารถทำขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบขึ้นมา เพื่อซัพพอร์ตธุรกิจเคมีภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Customer Relationship Management คืออะไร ช่วยธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ได้อย่างไร
CRM ย่อมาจากคำว่า Customer Relationship Management พูดให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ คือ เป็นระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งปัจจุบันนี้หากพูดถถึง CRM ส่วนใหญ่มักหมายถึง CRM Software เปรียบเสมือนไดอารีที่คอยเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์การตลาด กลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย ทำให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำ ๆ เพื่อซัปพอร์ต Customer Journey ลูกค้าได้อย่างตรงจุด สร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ได้ เช่น
- ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มความต้องการของลูกค้าได้
- ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าเก่า ทำให้เกิดการซื้อซ้ำ
- ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ จนเกิด Brand Loyalty
- ช่วยสร้างผลกำไรระยะยาวให้แก่ธุรกิจ
- ช่วยสร้างยอดขายอัตโนมัติได้ด้วยระบบของ CRM
- ช่วยสร้างแคมเปญใหม่ ๆ ได้ เพราะมีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : CRM คืออะไร ประโยชน์ของ CRM คืออะไร
กลยุทธ์ Customer Relationship Management เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง?
CRM ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่มีปัจจัยเชื่อมโยงมากมาย สามารถจัดการได้ง่ายและเป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ กระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้เสมอ พออ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยกันแล้วใช่ไหม ว่า Customer Relationship Management เหมาะกับธุรกิจแบบไหนกันแน่? ซึ่งเราได้แบ่งประเภทออกเป็น 2 ธุรกิจหลัก ๆ ได้แก่
ธุรกิจ B2B
ธุรกิจ B2B ย่อมาจาก Business to Business ซึ่งเป็นธุรกิจการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานธุรกิจ ซึ่ง ระบบ CRM นั้นเหมาะกับธุรกิจ B2B เพราะ CRM นั้นเป็นเครื่องมือที่คอยเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ เพื่อให้ Sales ขององค์กรสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างท่องแท้ เข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ธุรกิจ B2C
ธุรกิจ B2C ย่อมาจาก Business to Customer ซึ่งเป็นธุรกิจระหว่างผู้ขายและลูกค้าโดยตรง ซึ่ง CRM เหมาะกับธุรกิจ B2C ที่ขายสินค้ามูลค่าสูง อย่างเช่น รถยนต์, บ้าน, จิวเวอร์รี่ อย่างมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ลูกค้าใช้เวลาในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าค่อนข้างนาน ดังนั้น ระบบ CRM เข้ามาช่วยทำให้ผู้ขายรับรู้ถึงพฤติกรรมความต้องการของลูกค้า และสามารถสร้างกลยุทธ์ดึงดูดความสนใจของลูกค้าและสามารถปิดการขายได้ในที่สุด
จะเห็นว่า Customer Relationship Management มีความสำคัญต่อธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบไหน ก็สามารถใช้ CRM เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้ดี โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ที่หลายคนรู้อยู่แล้วถึงเรื่องกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนไปจนถึงราคาต้นทุนที่แพงเอามาก ๆ การดึง CRM เข้ามาเพื่ออุดช่องโหว่ธุรกิจอุตสาหกรรม ช่วยกระตุ้นยอดขายให้และเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาได้อีกด้วย
หากคุณเป็นอีกหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และกำลังมองหาเครื่องมือที่จะมาช่วยพัฒนาธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปิดช่องโหว่ทั้งหมดได้ในเครื่องมือเดียว Wisible คือตัวช่วยที่ใช่สำหรับคุณ เพื่อเสริมความมั่นใจให้คุณมากขึ้น
สามารถนัด Demo เพื่อพูดคุยกับทีมงานและสาธิตการใช้งานได้เลยทันที